อดีตชาติของพระมหากัสสปะ ท่านเคยถวายผ้าแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ภรรยาเอาโคลนใส่บาตร

อดีตชาติของพระมหากัสสปะ
ท่านเคยถวายผ้าแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แต่ภรรยาเอาโคลนใส่บาตร

ช่วงกลางระหว่างพระพุทธเจ้าโกนาคมนะกับพระพุทธเจ้ากัสสปะ (กาลที่ยังไม่มีพระพุทธเจ้า เป็นกาลที่มีพระปัจเจกพุทธเจ้า) พระเถระนี้เป็นกุฎุมพี อยู่อาศัยในกรุงพาราณสี เจริญวัยแล้วแต่งงานมีเหย้าเรือน

อ่านต่อ

หากมีใครนำอัญมณี…จำนวนเท่าพุทธเกษตร ที่มีมากเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา

หากมีใครนำอัญมณี…จำนวนเท่าพุทธเกษตร
ที่มีมากเท่ากับเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา…
ไปถวายท้าวจตุโลกบาล…กระนั้นก็ยังไม่มีค่า
เท่ากับเครื่องสักการะ..ของผู้ที่ประนมมือขึ้นตั้งจิต
อธิฐานขอให้บรรลุธรรม…เพราะ….
….อานิสงส์นี้ไม่มีประมาณ.
การรักษาศีลจนหมดจด..พ้นเครื่องร้อยรัดแห่งกาม
ย่อมเป็นไปเพื่อ..นิพพาน

ทุกขณะที่ลมหายใจ..ยังกายให้อบอุ่น
จงอย่าประมาทในชีวิต..ฉวยโอกาส..รักษาศีล
ให้ทาน…เจริญภาวนาให้กายในกาย..ดับทุกข์
ดับความดิ้นรน..อยากมีอยากเป็น..
ไม่อยากมีไม่อยากเป็น..ดับความยึดมั่นถือมั่น
..ว่าง..วาง..สงบ

ข้าพเจ้ามีเนื้อนาบุญเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิต
ไม่มีสรณะอื่นยิ่งกว่า..
เนื้อนาบุญอันประเสร็ฐเป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า

แม่ชี ทศพร วชิระบำเพ็ญ

กัลยาณมิตร..คือผู้ฉุดดึงเพื่อน..มนุษย์..ที่ติดในเพลิงทุกข์

..กัลยาณมิตร..คือผู้ฉุดดึงเพื่อน..มนุษย์..ที่ติดในเพลิงทุกข์..

..แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๒๐ ปรินิพพาน – เหตุอัศจรรย์ก่อนปรินิพพาน ๑

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๒๐ ปรินิพพาน – เหตุอัศจรรย์ก่อนปรินิพพาน ๑

๑.นำ้ใสในพริบตา

เมื่อออกจากบ้านนายจุนทะ ทรงหยุดพักเหนื่อยระหว่างทาง ทรงกระหายน้ำ แต่พระอานนท์ทูลว่า นำ้ขุ่นเพราะกองเกวียนเพิ่งผ่านแม่นำ้ไป พระองค์ตรัสบอกเป็นครั้งที่ ๓ พระอานนท์จึงไปตักน้ำ เกิดเหตุอัศจรรย์คือนำ้กลับใสบริสุทธิ์เหมือนไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้น

อ่านต่อ

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๙ ปรินิพพาน – เหตุผลสนับสนุนเพิ่มเติม

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๙ ปรินิพพาน – เหตุผลสนับสนุนเพิ่มเติม
มติที่ ๓ ที่บอกว่าเป็นโอสถพิเศษที่ปรุงด้วยตำรับ“รสายนศาสตร์”(ทางฝ่ายมหายานระบุว่าเป็นเห็ดแก่นจันทน์) ข้อนี้น่าพิจารณาและมีทางเป็นไปได้กว่าสองมติที่กล่าวมา โดยขออนุญาตินำความคิดเห็นของอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก มาแสดง ท่านให้เหตุผลดังนี้

อ่านต่อ

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๘ ปรินิพพาน – “สุกรมัททวะ” น่าจะคือสิ่งนี้…!!!

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๘ ปรินิพพาน – “สุกรมัททวะ” น่าจะคือสิ่งนี้…!!!

เราลองมาวิเคราะห์ข้อความในมหาปรินิพพานสูตรก่อนว่า

อ่านต่อ

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๗ ปรินิพพาน – เหตุเกิดเพราะ “สุกรมัททวะ”

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๗ ปรินิพพาน – เหตุเกิดเพราะ “สุกรมัททวะ”
ในเส้นทางปรินิพพาน จากโภคะนคร พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดำเนินด้วยพระบาทไปยังเมืองปาวา ในระหว่างทางก็พักอยู่ที่สวนมะม่วงของนายจุนทะ กัมมารบุตร แปลว่า นายจุนทะ บุตรนายช่างทอง

อ่านต่อ

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๖ ปรินิพพาน – นางสิริมาราคาเท่าไรแน่ ???

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๖ ปรินิพพาน – นางสิริมาราคาเท่าไรแน่ ???
ความงามของนางสิริมา แม้ภิกษุก็หลงใหลในความงามนั้น ภิกษุที่ไปรับอาหารจากบ้านนางสิริมา ได้กล่าวเล่าให้กับภิกษุรูปอื่นฟังว่า “ดีมาก ดีจนพูดไม่ถูก ปริมาณอาหารก็มากด้วย อาหารที่นางถวายแก่ข้าพเจ้านั้นแจกจ่ายแก่เพื่อนๆ ได้ถึง ๓ หรือ ๔ รูป แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่า นางสวยเหลือเกิน การได้มองดูนาง ดีกว่าไทยธรรมของนางซะอีก ท่านลองคิดดูเถอะว่า จะเลิศสักปานใด ปาก จมูก คอ มือ เท้าของนางดูงามละเมียดละไมไปหมด” 

อ่านต่อ

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๕ ปรินิพพาน – นางคณิกาที่ศรัทธามีหลายคน

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๕ ปรินิพพาน – นางคณิกาที่ศรัทธามีหลายคน
พระเจ้าพิมพิสารได้แนวคิดไปจากแคว้นวัชชี จึงได้แต่งตั้งนางนครโสเภณีขึ้นที่เมืองราชคฤห์ โดยสถาปนานางสาลวดีเป็นผู้รับตำแหน่งคนแรก นางสาลวดีได้กำเนิดบุตรชายและบุตรสาวเพราะความเผลอ นางเลี้ยงบุตรสาวเพื่อสืบทอดตำแหน่ง แต่ไม่ปรารถนาบุตรชาย จึงให้คนนำไปทิ้งไว้ใกล้ๆ ประตูวัง เจ้าชายอภัย พระราชโอรสพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมาพบเข้า นำเด็กน้อยไปเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม

อ่านต่อ

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๔ ปรินิพพาน

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๔ ปรินิพพาน

แม้เป็นนางคณิกาแต่ศรัทธาเปี่ยมล้น เมื่อสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จพร้อมพระอานนท์ บ่ายพระพักตร์ไปยังเมืองกุสินาราเพื่อดับขันธปรินิพพานระหว่างทางพระองค์ได้แวะพักที่สวนมะม่วงของนางอัมพปาลี ซึ่งมีอาชีพเป็นนางคณิกา (หญิงบริการ) นางทราบเข้าจึงไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์จึงแสดงธรรมให้พวกนางฟัง จบแล้วพวกนางได้เกิดความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยมากยิ่งขึ้น จึงกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยพระสงฆ์ เสด็จไปเสวยภัตตาหารที่บ้านของตน

อ่านต่อ

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๓ บิณฑบาตที่มีผลมีอานิสงส์มาก

วันวิสาขบูชา ตอนที่ ๑๓ บิณฑบาตที่มีผลมีอานิสงส์มาก

เหตุที่พระวรกายของพระพุทธเจ้าสามารถทรงอยู่ได้ตลอดการเสวยวิมุติสุข เป็นระยะเวลา ๗ สัปดาห์ รวม ๔๙ วัน

อ่านต่อ