Featured

ขอเชิญร่วมบุญประจำเดือนกันยายน 2567

ขอเชิญร่วมบุญประจำเดือนกันยายน 2567
—————————————
ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่
น้ำดื่มโหลละ50บาท
ข้าวสาร ข้าวเหนียว กระสอบละ1,500บาท
น้ำตาลทรายกระสอบละ680บาท
น้ำมันพืชลังละ600บาท
แก๊สถังใหญ่1,400บาท ถังเล็ก600บาท
ไข่ไก่แผงละ150บาท
หรือทำบุญตามกำลัง
บัญชีกสิกร 6332114318
ทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน 2567
………………………………
ร่วมมุทิตาสักการะพระธรรมวชิรกวี เจ้าคณะจังหวัดสิงหบุรี เจ้าอาวาสวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงหบุรี

ถวายภัตตาหารเช้าเพลน้ำปานะแก่คณะสงฆ์โครงการอบรมประจำปีคณะสงฆ์ภาค10 ณ.ที่ทำการคณะสงฆ์ภาค10 อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

สาธยายพระไตรปิฎกถวายเป็นพุทธบูชา
แด่พระรัตนตรัย
ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์และผู้ปฏิบัติ ณ.บ้านเพชรบำเพ็ญ พุหวยหมู่6 ต.ห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร
ณ.วัดอุทยานธรรมดงยาง วัดดงก้าวกัลยาราม ต.คลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ

ถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์สามเณร
วัดป่ากตัญญุตาราม อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

ร่วมถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
ณ.มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
โรงเรียนสามเณรนานาชาติในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
และผู้ปฏิบัติธรรม
ณ วัดพิชยญาติการามวรวิหาร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

เป็นผู้แทนเจ้าภาพ
น้อมถวายมหาสังฆทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ สามเณรหมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่เป็นพุทธบูชาแด่คุณพระศรีรัตนตรัย
———————————–
ข้าแต่พระรัตนตรัยและพระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เป็นของชอบธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม

น้อมบูชาแด่พระรัตนตรัย
น้อมถวายแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ขอพระรัตนตรัย พระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
ผู้มีศีลทั้งหลาย จงรับซึ่งภัตตาหาร
กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นด้วย
สิ้นกาลนานเทอญ

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

๑. สีสปาวนสูตร

๑. สีสปาวนสูตร
ว่าด้วยใบไม้ในกำมือ
[๑๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย
๒-๓ ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน” ลำดับนั้น
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย ๒-๓
ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน
เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก
เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เรา
จึงมิได้บอก
สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว
คือ เราได้บอกว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’
เพราะเหตุไร เราจึงบอก
เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
————-
๒. ขทิรปัตตสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยใบไม้ในกำมือ
[๑๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราจักใช้ใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือ
ใบมะขามป้อมห่อน้ำหรือห่อใบตาลนำไป’ แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึง
กล่าวว่า ‘เราไม่ได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความ
เป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
{๑๗๑๕} แต่เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ทุกข-
สมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราจักใช้ใบบัว ใบทองกวาว หรือใบย่านทราย
ห่อน้ำหรือห่อใบตาลนำไป’ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้รู้แจ้ง
ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำ
ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ขทิรปัตตสูตรที่ ๒ จบ
………………
เป็นไปไม่ได้เลย ที่บุคคลไม่รู้แจ้งอริยสัจ 4 ประการ จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคล

เป็นไปได้ ที่บุคคลรู้แจ้งอริยสัจ 4 ประการ จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคล

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันพุธที่ 4 กันยายน 2567

วันพุธที่ 4 กันยายน 2567
………………………………
ถวายภัตตาหารเช้าเพลน้ำปานะแก่คณะสงฆ์โครงการอบรมประจำปีคณะสงฆ์ภาค10 ณ.ที่ทำการคณะสงฆ์ภาค10 อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

สาธยายพระไตรปิฎกถวายเป็นพุทธบูชา
แด่พระรัตนตรัย
ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์และผู้ปฏิบัติ ณ.บ้านเพชรบำเพ็ญ พุหวยหมู่6 ต.ห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร
ณ.วัดอุทยานธรรมดงยาง วัดดงก้าวกัลยาราม ต.คลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ

ถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์สามเณร
วัดป่ากตัญญุตาราม อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

ร่วมถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
ณ.มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
โรงเรียนสามเณรนานาชาติในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
และผู้ปฏิบัติธรรม
ณ วัดพิชยญาติการามวรวิหาร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

เป็นผู้แทนเจ้าภาพ
น้อมถวายมหาสังฆทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ สามเณรหมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่เป็นพุทธบูชาแด่คุณพระศรีรัตนตรัย
———————————–
ข้าแต่พระรัตนตรัยและพระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เป็นของชอบธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม

น้อมบูชาแด่พระรัตนตรัย
น้อมถวายแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ขอพระรัตนตรัย พระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
ผู้มีศีลทั้งหลาย จงรับซึ่งภัตตาหาร
กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นด้วย
สิ้นกาลนานเทอญ

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

คิลานสูตร

คิลานสูตร
ว่าด้วยอุบาสกป่วย
[๑๐๕๐]    สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    นิโครธาราม    เขตกรุงกบิลพัสดุ์    แคว้นสักกะ    สมัยนั้น    ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาค    ด้วยหวังว่า    “พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว    ล่วงไป    ๓    เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”

           เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน    ลำดับนั้นท้าวเธอเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง    ณ ที่สมควร             ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

           “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า    ‘ได้ทราบว่า    ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาค    ด้วยหวังว่า    ‘พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว    ล่วงไป    ๓    เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    หม่อมฉันยังไม่ได้ทราบข่าว    ไม่ได้รับเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า    ‘อุบาสกผู้มีปัญญา (๑)    พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย    ได้รับทุกข์    เป็นไข้หนัก”
“มหาบพิตร    อุบาสกผู้มีปัญญาพึงปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย    ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก    ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ    ๔    ประการว่า  ‘จงเบาใจเถิดท่านผู้มีอายุ    ท่าน

๑.    มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า    ‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น    ฯลฯ    เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย    เป็นพระพุทธเจ้า    เป็นพระผู้มีพระภาค’

๒.    มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม    ฯลฯ
๓.    มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์    ฯลฯ
๔.    มีศีลที่พระอริยะชอบใจ    ไม่ขาด    ฯลฯ    เป็นไปเพื่อสมาธิ’

มหาบพิตร    อุบาสกผู้มีปัญญาครั้นปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย    ได้รับทุกข์              เป็นไข้หนัก    ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ    ๔    ประการนี้แล้ว    พึงถามว่า‘ท่านยังมีความห่วงใยมารดาบิดาอยู่หรือ’    ถ้าเขาตอบว่า    ‘ผมยังมีความห่วงใยมารดาบิดาอยู่’    

อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า    ‘ท่านผู้นิรทุกข์    ผู้มีความตายเป็นธรรมดาถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน    ถึงแม้ท่านจะไม่ทำความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน              เอาเถิด    ขอท่านจงละความห่วงใยมารดาบิดาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมละความห่วงใยมารดาบิดาของผมแล้ว’    

อุบาสกนั้นพึงถามเขาว่า    ‘ท่านยังมีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่หรือ’    ถ้าเขาตอบว่า    ‘ผมยังมีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่’    

อุบาสกนั้นพึงกล่าวกับเขาว่า    ‘ท่านผู้นิรทุกข์    ผู้มีความตายเป็นธรรมดา    ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือนกัน    ถึงแม้ท่านจักไม่ทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือนกัน    เอาเถิดขอท่านจงละความห่วงใยบุตรและภริยาของท่านเสีย’

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมละความห่วงใยบุตรและภริยาของผมแล้ว’    อุบาสกนั้นพึงถามเขาว่า    ‘ท่านยังมีความห่วงใยกามคุณ    ๕    อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ’    ถ้าเขาตอบว่า    ‘ผมยังมีความห่วงใยกามคุณ    ๕    อันเป็นของมนุษย์อยู่’    อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า

   ‘ท่าน กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่าและประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์เอาเถิด    ขอท่านจงพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว    น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชเถิด’

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว    ผมน้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว’    อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า    ‘ท่าน    หมู่เทพชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นจาตุมหาราช    เอาเถิด    ขอท่านจงพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว    น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์เถิด’

           ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว    ผมน้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์แล้ว’    อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า    ‘หมู่เทพชั้นยามายังดีกว่าและประณีตกว่า
หมู่เทพชั้นดาวดึงส์    ฯลฯ    
หมู่เทพชั้นดุสิต    ฯลฯ    
หมู่เทพชั้นนิมมานรดี    ฯลฯ    
หมู่เทพชั้นปรินิมมิตวสวัตดี    ฯลฯ    
พรหมโลกยังดีกว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี    เอาเถิด    ขอท่านจงพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว    น้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้วผมน้อมจิตไปในพรหมโลกแล้ว’    อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า    ‘ท่าน    แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน                    

นับเนื่องด้วยสักกายะ    เอาเถิด    ขอท่านจงพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้วนำจิตเข้าไปในสักกายนิโรธ(ความดับกายของตน)เถิด’
           ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้ว    ผมนำจิตเข้าไปในสักกายนิโรธอยู่แล้ว’
           มหาบพิตร    อุบาสกผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ  อาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างอะไรกันเลย    คือ    หลุดพ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน”

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๙  ข้อ ๑๐๕๐  หน้า ๕๗๔
หมายเหตุ
(๑) อุบาสกผู้มีปัญญา  ในที่นี้หมายถึงอุบาสกที่เป็นโสดาบัน  (สํ.ม.อ.  ๓/๑๐๕๐/๓๗๓)

……………..
สาธยายพระไตรปิฎกวันที่ 3 กันยายน 2567
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันอังคารที่ 3 กันยายน 2567

วันอังคารที่ 3 กันยายน 2567
………………………………
ถวายภัตตาหารเช้าเพลน้ำปานะแก่คณะสงฆ์โครงการอบรมประจำปีคณะสงฆ์ภาค10 ณ.ที่ทำการคณะสงฆ์ภาค10 อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

สาธยายพระไตรปิฎกถวายเป็นพุทธบูชา
แด่พระรัตนตรัย
ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์และผู้ปฏิบัติ ณ.บ้านเพชรบำเพ็ญ พุหวยหมู่6 ต.ห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร
ณ.วัดอุทยานธรรมดงยาง วัดดงก้าวกัลยาราม ต.คลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ

ถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์สามเณร
วัดป่ากตัญญุตาราม อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

ร่วมถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
ณ.มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
โรงเรียนสามเณรนานาชาติในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
และผู้ปฏิบัติธรรม
ณ วัดพิชยญาติการามวรวิหาร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

เป็นผู้แทนเจ้าภาพ
น้อมถวายมหาสังฆทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ สามเณรหมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่เป็นพุทธบูชาแด่คุณพระศรีรัตนตรัย
———————————–
ข้าแต่พระรัตนตรัยและพระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เป็นของชอบธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม

น้อมบูชาแด่พระรัตนตรัย
น้อมถวายแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ขอพระรัตนตรัย พระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
ผู้มีศีลทั้งหลาย จงรับซึ่งภัตตาหาร
กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นด้วย
สิ้นกาลนานเทอญ

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร

ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี (อาพาธ)
            [๑๐๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
            สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเจ้าจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”

            บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งณ ที่สมควร         ได้กราบเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถ-บิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

            ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรมีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี  นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”

            ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลยอาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏขอรับ”
            “คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
            ๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระพุทธเจ้า หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่นนั้นในพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระธรรม หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่นนั้นในพระธรรม ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระสงฆ์ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่นนั้นในพระสงฆ์ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๔. ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีศีลที่พระอริยะชอบใจ         ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นศีลที่พระอริยะชอบใจนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๕. ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาทิฏฐินั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๖. ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาสังกัปปะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๗. ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจาเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวาจานั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๘. ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมากัมมันตะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๙. ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาอาชีวะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๐. ประกอบด้วยมิจฉาวายามะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวายามะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๑. ประกอบด้วยมิจฉาสติเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาสติ ก็ท่านพิจารณาเห็นสัมมาสตินั้นว่ามีอยู่ในตนเวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๒. ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาสมาธินั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๓. ประกอบด้วยมิจฉาญาณะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาญาณะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๔. ประกอบด้วยมิจฉาวิมุตติเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุตติเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมาวิมุตติ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวิมุตตินั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน”

            ขณะนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้สงบระงับไปโดยพลัน ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีอังคาสท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์  ด้วยอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตนแล้ว จึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้วจึงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

“ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว  มีศีลอันงามที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง  บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า           เป็นคนไม่ขัดสน  ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า  เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา  เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล  ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม”

            ครั้นท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ก็ลุกจากอาสนะจากไป ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์เธอมาจากที่ไหนแต่ยังวัน”

            ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนท่านอนาถบิณฑิกคหบดีด้วยโอวาทนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต               มีปัญญามาก ได้จำแนกองค์เครื่องบรรลุโสดาด้วยอาการ ๑๐ อย่าง”

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๙  ข้อ ๑๐๒๒  หน้า ๕๓๖
 …………………….
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567
………………………………
ตั้งโรงทานวัดจิกสังข์ทอง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ

สาธยายพระไตรปิฎกถวายเป็นพุทธบูชา
แด่พระรัตนตรัย
ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์และผู้ปฏิบัติ ณ.บ้านเพชรบำเพ็ญ พุหวยหมู่6 ต.ห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร
ณ.วัดอุทยานธรรมดงยาง วัดดงก้าวกัลยาราม ต.คลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ

ถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์สามเณร
วัดป่ากตัญญุตาราม อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

ร่วมถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
ณ.มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
โรงเรียนสามเณรนานาชาติในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
และผู้ปฏิบัติธรรม
ณ วัดพิชยญาติการามวรวิหาร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

เป็นผู้แทนเจ้าภาพ
น้อมถวายมหาสังฆทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ สามเณรหมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่เป็นพุทธบูชาแด่คุณพระศรีรัตนตรัย
———————————–
ข้าแต่พระรัตนตรัยและพระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เป็นของชอบธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม

น้อมบูชาแด่พระรัตนตรัย
น้อมถวายแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ขอพระรัตนตรัย พระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
ผู้มีศีลทั้งหลาย จงรับซึ่งภัตตาหาร
กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นด้วย
สิ้นกาลนานเทอญ

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันนี้…วันพระแรม14ค่ำสิ้นเดือน9ปีมะโรง – นันทิกขยสูตร

วันนี้…วันพระแรม14ค่ำสิ้นเดือน9ปีมะโรง
————————————
นันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน
            [๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า             ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) เมื่อเธอเห็นโดยชอบ  ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ  กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด   จิตจึงหลุดพ้น         เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

            ภิกษุเห็นเวทนาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ  เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

            ภิกษุเห็นสัญญาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ความเห็นนั้นของเธอเป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ  เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

            ภิกษุเห็นสังขารที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน  จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

            ภิกษุเห็นวิญญาณที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของเธอนั้นเป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน  จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว”

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม  ๑๗ หน้า ๗๒
 …………………
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2567
………………………………
ถวายภัตตาหารเช้าเพลน้ำปานะแก่คณะสงฆ์โครงการอบรมประจำปีคณะสงฆ์ภาค10 ณ.ที่ทำการคณะสงฆ์ภาค10 อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

สาธยายพระไตรปิฎกถวายเป็นพุทธบูชา
แด่พระรัตนตรัย
ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์และผู้ปฏิบัติ ณ.บ้านเพชรบำเพ็ญ พุหวยหมู่6 ต.ห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร
ณ.วัดอุทยานธรรมดงยาง วัดดงก้าวกัลยาราม ต.คลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ

ถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์สามเณร
วัดป่ากตัญญุตาราม อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

ร่วมถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
ณ.มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
โรงเรียนสามเณรนานาชาติในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
และผู้ปฏิบัติธรรม
ณ วัดพิชยญาติการามวรวิหาร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

เป็นผู้แทนเจ้าภาพ
น้อมถวายมหาสังฆทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ สามเณรหมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่เป็นพุทธบูชาแด่คุณพระศรีรัตนตรัย
———————————–
ข้าแต่พระรัตนตรัยและพระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เป็นของชอบธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม

น้อมบูชาแด่พระรัตนตรัย
น้อมถวายแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ขอพระรัตนตรัย พระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
ผู้มีศีลทั้งหลาย จงรับซึ่งภัตตาหาร
กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นด้วย
สิ้นกาลนานเทอญ

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมัน
และไส้จึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อม
รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้
ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง
อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ

—————-
นิพพาน..ความเย็นในโลก
บุญรักษาค่ะ
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ40Like34Comment318Share

Public8. 31 4:53 pm

วันเสาร์ที่31สิงหาคม 2567

วันเสาร์ที่31สิงหาคม 2567
………………………………
ถวายภัตตาหารเช้าเพลน้ำปานะแก่คณะสงฆ์โครงการอบรมประจำปีคณะสงฆ์ภาค10 ณ.ที่ทำการคณะสงฆ์ภาค10 อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

สาธยายพระไตรปิฎกถวายเป็นพุทธบูชา
แด่พระรัตนตรัย
ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์และผู้ปฏิบัติ ณ.บ้านเพชรบำเพ็ญ พุหวยหมู่6 ต.ห้วยทรายเหนือ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

ถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณร
ณ.วัดอุทยานธรรมดงยาง วัดดงก้าวกัลยาราม ต.คลีกลิ้ง อ.ศิลาลาด จ.ศรีสะเกษ

ถวายภัตตาหาร แก่พระสงฆ์สามเณร
วัดป่ากตัญญุตาราม อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

ร่วมถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
ณ.มหาวชิราลงกรณบาลีเถรวาทราชวิทยาลัย ต.รางพิกุล อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
โรงเรียนสามเณรนานาชาติในสังกัดมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

ถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณร
และผู้ปฏิบัติธรรม
ณ วัดพิชยญาติการามวรวิหาร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร

เป็นผู้แทนเจ้าภาพ
น้อมถวายมหาสังฆทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ สามเณรหมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่เป็นพุทธบูชาแด่คุณพระศรีรัตนตรัย
———————————–
ข้าแต่พระรัตนตรัยและพระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งภัตตาหาร กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เป็นของชอบธรรม ได้มาแล้วโดยธรรม

น้อมบูชาแด่พระรัตนตรัย
น้อมถวายแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศีลทั้งหลาย

ขอพระรัตนตรัย พระสงฆ์หมู่ใหญ่
พร้อมทั้งสามเณร และอุบาสก อุบาสิกา
ผู้มีศีลทั้งหลาย จงรับซึ่งภัตตาหาร
กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้
เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีบิดามารดาเป็นต้นด้วย
สิ้นกาลนานเทอญ

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ