๑. สีสปาวนสูตร

๑. สีสปาวนสูตร
ว่าด้วยใบไม้ในกำมือ
[๑๑๐๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สีสปาวัน เขตกรุงโกสัมพี ครั้งนั้น
พระผู้มีพระภาคทรงหยิบใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบขึ้นมา แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ใบประดู่ลาย
๒-๓ ใบที่เราหยิบขึ้นมากับใบที่อยู่บนต้น อย่างไหนจะมากกว่ากัน” ลำดับนั้น
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ใบที่อยู่บนต้นไม้นั้นแลมากกว่า ใบประดู่ลาย ๒-๓
ใบที่พระองค์ทรงหยิบขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วแต่มิได้บอกเธอทั้งหลายก็มีมากเหมือนกัน
เพราะเหตุไร เราจึงมิได้บอก
เพราะสิ่งนี้ไม่มีประโยชน์ ไม่ใช่จุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อ
ความเบื่อหน่าย ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับ ไม่เป็นไปเพื่อสงบระงับ
ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่ง ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะเหตุนั้น เรา
จึงมิได้บอก
สิ่งอะไรเล่าที่เราบอกแล้ว
คือ เราได้บอกว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’
เพราะเหตุไร เราจึงบอก
เพราะสิ่งนี้มีประโยชน์ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพรหมจรรย์ เป็นไปเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพิ่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
เพราะเหตุนั้น เราจึงบอก
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
————-
๒. ขทิรปัตตสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยใบไม้ในกำมือ
[๑๑๐๒] “ภิกษุทั้งหลาย เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรา
ยังไม่รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี-
ปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราจักใช้ใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือ
ใบมะขามป้อมห่อน้ำหรือห่อใบตาลนำไป’ แม้ฉันใด เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึง
กล่าวว่า ‘เราไม่ได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความ
เป็นจริง แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
{๑๗๑๕} แต่เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เราได้รู้แจ้งทุกขอริยสัจ ทุกข-
สมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง
แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’
เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราจักใช้ใบบัว ใบทองกวาว หรือใบย่านทราย
ห่อน้ำหรือห่อใบตาลนำไป’ แม้ฉันใด เป็นไปได้ที่บุคคลจะพึงกล่าวว่า ‘เราได้รู้แจ้ง
ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง แล้วจักทำ
ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบได้’ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรเพื่อรู้ชัดตาม
ความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา”
ขทิรปัตตสูตรที่ ๒ จบ
………………
เป็นไปไม่ได้เลย ที่บุคคลไม่รู้แจ้งอริยสัจ 4 ประการ จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคล

เป็นไปได้ ที่บุคคลรู้แจ้งอริยสัจ 4 ประการ จะบรรลุเป็นพระอริยบุคคล

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

คิลานสูตร

คิลานสูตร
ว่าด้วยอุบาสกป่วย
[๑๐๕๐]    สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    นิโครธาราม    เขตกรุงกบิลพัสดุ์    แคว้นสักกะ    สมัยนั้น    ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาค    ด้วยหวังว่า    “พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว    ล่วงไป    ๓    เดือนก็จักเสด็จจาริกไป”

           เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะได้ทรงทราบข่าวอย่างนั้นเหมือนกัน    ลำดับนั้นท้าวเธอเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง    ณ ที่สมควร             ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

           “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    หม่อมฉันได้ทราบข่าวอย่างนี้ว่า    ‘ได้ทราบว่า    ภิกษุจำนวนมากทำจีวรกรรมเพื่อถวายพระผู้มีพระภาค    ด้วยหวังว่า    ‘พระผู้มีพระภาคทรงมีจีวรสำเร็จแล้ว    ล่วงไป    ๓    เดือนก็จักเสด็จจาริกไป’

           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    หม่อมฉันยังไม่ได้ทราบข่าว    ไม่ได้รับเรื่องนี้มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า    ‘อุบาสกผู้มีปัญญา (๑)    พึงกล่าวสอนอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย    ได้รับทุกข์    เป็นไข้หนัก”
“มหาบพิตร    อุบาสกผู้มีปัญญาพึงปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย    ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก    ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ    ๔    ประการว่า  ‘จงเบาใจเถิดท่านผู้มีอายุ    ท่าน

๑.    มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า    ‘แม้เพราะเหตุนี้พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น    ฯลฯ    เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย    เป็นพระพุทธเจ้า    เป็นพระผู้มีพระภาค’

๒.    มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม    ฯลฯ
๓.    มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์    ฯลฯ
๔.    มีศีลที่พระอริยะชอบใจ    ไม่ขาด    ฯลฯ    เป็นไปเพื่อสมาธิ’

มหาบพิตร    อุบาสกผู้มีปัญญาครั้นปลอบใจอุบาสกผู้มีปัญญาซึ่งป่วย    ได้รับทุกข์              เป็นไข้หนัก    ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ    ๔    ประการนี้แล้ว    พึงถามว่า‘ท่านยังมีความห่วงใยมารดาบิดาอยู่หรือ’    ถ้าเขาตอบว่า    ‘ผมยังมีความห่วงใยมารดาบิดาอยู่’    

อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า    ‘ท่านผู้นิรทุกข์    ผู้มีความตายเป็นธรรมดาถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน    ถึงแม้ท่านจะไม่ทำความห่วงใยมารดาบิดาก็จักตายเหมือนกัน              เอาเถิด    ขอท่านจงละความห่วงใยมารดาบิดาของท่านเสีย’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมละความห่วงใยมารดาบิดาของผมแล้ว’    

อุบาสกนั้นพึงถามเขาว่า    ‘ท่านยังมีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่หรือ’    ถ้าเขาตอบว่า    ‘ผมยังมีความห่วงใยบุตรและภริยาอยู่’    

อุบาสกนั้นพึงกล่าวกับเขาว่า    ‘ท่านผู้นิรทุกข์    ผู้มีความตายเป็นธรรมดา    ถึงแม้ท่านจักทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือนกัน    ถึงแม้ท่านจักไม่ทำความห่วงใยบุตรและภริยาก็จักตายเหมือนกัน    เอาเถิดขอท่านจงละความห่วงใยบุตรและภริยาของท่านเสีย’

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมละความห่วงใยบุตรและภริยาของผมแล้ว’    อุบาสกนั้นพึงถามเขาว่า    ‘ท่านยังมีความห่วงใยกามคุณ    ๕    อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ’    ถ้าเขาตอบว่า    ‘ผมยังมีความห่วงใยกามคุณ    ๕    อันเป็นของมนุษย์อยู่’    อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า

   ‘ท่าน กามอันเป็นทิพย์ยังดีกว่าและประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์เอาเถิด    ขอท่านจงพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว    น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชเถิด’

ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมพรากจิตออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว    ผมน้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว’    อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า    ‘ท่าน    หมู่เทพชั้นดาวดึงส์ยังดีกว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นจาตุมหาราช    เอาเถิด    ขอท่านจงพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว    น้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์เถิด’

           ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว    ผมน้อมจิตไปในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์แล้ว’    อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า    ‘หมู่เทพชั้นยามายังดีกว่าและประณีตกว่า
หมู่เทพชั้นดาวดึงส์    ฯลฯ    
หมู่เทพชั้นดุสิต    ฯลฯ    
หมู่เทพชั้นนิมมานรดี    ฯลฯ    
หมู่เทพชั้นปรินิมมิตวสวัตดี    ฯลฯ    
พรหมโลกยังดีกว่าและประณีตกว่าหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี    เอาเถิด    ขอท่านจงพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว    น้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด’
ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมพรากจิตออกจากหมู่เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้วผมน้อมจิตไปในพรหมโลกแล้ว’    อุบาสกนั้นพึงกล่าวว่า    ‘ท่าน    แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน                    

นับเนื่องด้วยสักกายะ    เอาเถิด    ขอท่านจงพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้วนำจิตเข้าไปในสักกายนิโรธ(ความดับกายของตน)เถิด’
           ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า    ‘ผมพรากจิตออกจากพรหมโลกแล้ว    ผมนำจิตเข้าไปในสักกายนิโรธอยู่แล้ว’
           มหาบพิตร    อุบาสกผู้มีจิตหลุดพ้นอย่างนี้กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ  อาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างอะไรกันเลย    คือ    หลุดพ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน”

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๙  ข้อ ๑๐๕๐  หน้า ๕๗๔
หมายเหตุ
(๑) อุบาสกผู้มีปัญญา  ในที่นี้หมายถึงอุบาสกที่เป็นโสดาบัน  (สํ.ม.อ.  ๓/๑๐๕๐/๓๗๓)

……………..
สาธยายพระไตรปิฎกวันที่ 3 กันยายน 2567
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร

ปฐมอนาถปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยอนาถบิณฑิกคหบดี (อาพาธ)
            [๑๐๒๒] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
            สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านอนาถบิณฑิกคหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า “มาเถิด พ่อมหาจำเริญ เจ้าจงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ กราบเท้าทั้งสองของท่านด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า ‘พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนักท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า’ และเจ้าจงกราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด”

            บุรุษนั้นรับคำแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว นั่งณ ที่สมควร         ได้กราบเรียนท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า “พระคุณเจ้าผู้เจริญ ท่านอนาถ-บิณฑิกคหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสองของพระคุณท่านด้วยเศียรเกล้า และฝากมากราบเรียนอย่างนี้ว่า ‘ขอท่านพระสารีบุตรโปรดอนุเคราะห์เข้าไปเยี่ยมท่านอนาถบิณฑิกคหบดีถึงนิเวศน์ด้วยเถิด” ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

            ครั้นในเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรมีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคหบดี  นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้แล้วถามท่านอนาถบิณฑิกคหบดีดังนี้ว่า “คหบดี ท่านยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นหรือ อาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ”

            ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีตอบว่า “กระผมไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนามีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลยอาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏขอรับ”
            “คหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ
            ๑. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระพุทธเจ้า หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่นนั้นในพระพุทธเจ้า ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๒. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระธรรม หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่นนั้นในพระธรรม ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ‘พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๓. ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใสเช่นใดในพระสงฆ์ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสเช่นนั้นในพระสงฆ์ ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า ‘พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก’ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๔. ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีลเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเป็นผู้ทุศีลเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีศีลที่พระอริยะชอบใจ         ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นศีลที่พระอริยะชอบใจนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๕. ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาทิฏฐิเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาทิฏฐินั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๖. ประกอบด้วยมิจฉาสังกัปปะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสังกัปปะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมาสังกัปปะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาสังกัปปะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๗. ประกอบด้วยมิจฉาวาจาเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวาจาเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวาจานั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๘. ประกอบด้วยมิจฉากัมมันตะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉากัมมันตะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมากัมมันตะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมากัมมันตะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๙. ประกอบด้วยมิจฉาอาชีวะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาอาชีวะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาอาชีวะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๐. ประกอบด้วยมิจฉาวายามะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวายามะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวายามะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๑. ประกอบด้วยมิจฉาสติเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสติเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาสติ ก็ท่านพิจารณาเห็นสัมมาสตินั้นว่ามีอยู่ในตนเวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๒. ประกอบด้วยมิจฉาสมาธิเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาสมาธิเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาสมาธิ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาสมาธินั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๓. ประกอบด้วยมิจฉาญาณะเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาญาณะเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่านเพราะท่านมีสัมมาญาณะ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาญาณะนั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน

            ๑๔. ประกอบด้วยมิจฉาวิมุตติเช่นใด หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบายทุคติ วินิบาต นรก มิจฉาวิมุตติเช่นนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะท่านมีสัมมาวิมุตติ ก็เมื่อท่านพิจารณาเห็นสัมมาวิมุตตินั้นว่ามีอยู่ในตน เวทนาก็จะสงบระงับไปโดยพลัน”

            ขณะนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคหบดีได้สงบระงับไปโดยพลัน ท่านอนาถบิณฑิกคหบดีอังคาสท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์  ด้วยอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตนแล้ว จึงเลือกนั่ง ณ ที่สมควรที่ใดที่หนึ่งซึ่งต่ำกว่า เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จวางมือจากบาตรแล้วจึงอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

“ผู้ใดมีศรัทธาในพระตถาคตตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว  มีศีลอันงามที่พระอริยะชอบใจ(และ)สรรเสริญมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง  บัณฑิตทั้งหลายเรียกผู้นั้นว่า           เป็นคนไม่ขัดสน  ชีวิตของเขาก็ไม่สูญเปล่า  เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญา  เมื่อระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ควรหมั่นประกอบศรัทธา ศีล  ความเลื่อมใส และการเห็นธรรม”

            ครั้นท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ก็ลุกจากอาสนะจากไป ต่อมา ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่สมควร          พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า “อานนท์เธอมาจากที่ไหนแต่ยังวัน”

            ท่านพระอานนท์ทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนท่านอนาถบิณฑิกคหบดีด้วยโอวาทนี้” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต               มีปัญญามาก ได้จำแนกองค์เครื่องบรรลุโสดาด้วยอาการ ๑๐ อย่าง”

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๙  ข้อ ๑๐๒๒  หน้า ๕๓๖
 …………………….
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันนี้…วันพระแรม14ค่ำสิ้นเดือน9ปีมะโรง – นันทิกขยสูตร

วันนี้…วันพระแรม14ค่ำสิ้นเดือน9ปีมะโรง
————————————
นันทิกขยสูตร
ว่าด้วยการสิ้นความเพลิดเพลิน
            [๕๑] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเห็นรูปที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า             ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็นสัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) เมื่อเธอเห็นโดยชอบ  ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความ  กำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด   จิตจึงหลุดพ้น         เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

            ภิกษุเห็นเวทนาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ  เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

            ภิกษุเห็นสัญญาที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ความเห็นนั้นของเธอเป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลินจึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความ  เพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

            ภิกษุเห็นสังขารที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นนั้นของเธอเป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน  จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว’

            ภิกษุเห็นวิญญาณที่ไม่เที่ยงนั่นแลว่า ‘ไม่เที่ยง’ ความเห็นของเธอนั้นเป็น  สัมมาทิฏฐิ เมื่อเธอเห็นโดยชอบ ก็ย่อมเบื่อหน่าย เพราะสิ้นความเพลิดเพลิน  จึงสิ้นความกำหนัด เพราะสิ้นความกำหนัดจึงสิ้นความเพลิดเพลิน เพราะสิ้นทั้งความเพลิดเพลินและความกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น เราเรียกว่า ‘หลุดพ้นดีแล้ว”

พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม  ๑๗ หน้า ๗๒
 …………………
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย

[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมัน
และไส้จึงติดอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้ ประทีปนั้นไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อม
รู้ชัดว่าเราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้
ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อตายไป เวทนาทั้งปวง
อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นความเย็นในโลกนี้ทีเดียว ฯ

—————-
นิพพาน..ความเย็นในโลก
บุญรักษาค่ะ
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ40Like34Comment318Share

Public8. 31 4:53 pm

อภยสูตร ว่าด้วยอภัยราชกุมาร

อภยสูตร
ว่าด้วยอภัยราชกุมาร
            [๒๓๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตกรุงราชคฤห์ครั้งนั้น อภัยราชกุมารเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ปูรณะ กัสสปะ         ได้กล่าวว่า ‘เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็น  ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มีเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น  ความรู้ ความเห็นไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย’ ในเรื่องนี้ พระองค์ตรัสว่าอย่างไร”

            พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ราชกุมาร เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย เหตุมี ปัจจัยมีเพื่อความรู้เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย”

            “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็นเป็นอย่างไร ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร”

            “ราชกุมาร สมัยใด บุคคลมีจิตถูกกามราคะกลุ้มรุม ถูกกามราคะครอบงำอยู่และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากกามราคะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริงนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้

          อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกพยาบาทกลุ้มรุม ถูกพยาบาทครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้

         อีกประการหนึ่ง สมัยใด บุคคลมีจิตถูกถีนมิทธะกลุ้มรุม ถูกถีนมิทธะครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง          นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้  ความไม่เห็นมีเหตุ       มีปัจจัย แม้อย่างนี้

อีกประการหนึ่ง  สมัยใด  บุคคลมีจิตถูกอุทธัจจกุกกุจจะกลุ้มรุม  ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะครอบงำอยู่ และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากอุทธัจจะกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริง นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ความไม่เห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้ 

อีกประการหนึ่ง  สมัยใด  บุคคลมีจิตถูกวิจิกิจฉากลุ้มรุม ถูกวิจิกิจฉาครอบงำอยู่และไม่รู้ ไม่เห็นธรรมเครื่องสลัดออกจากวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วตามความเป็นจริงนี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพื่อความไม่รู้ เพื่อความไม่เห็น ความไม่รู้ ความไม่เห็นมีเหตุ             มีปัจจัย แม้อย่างนี้” 
            “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
            “ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อนิวรณ์”
            “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค นิวรณ์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต นิวรณ์เป็นอย่างนี้ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลถูกนิวรณ์แม้อย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำแล้ว ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ถูกนิวรณ์ทั้ง ๕ ครอบงำเลย

            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อนึ่ง เหตุเป็นอย่างไร ปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความเห็นเป็นอย่างไร ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัยอย่างไร”

            “ราชกุมาร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันสติสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญวิริยะสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันวิริยะสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญปีติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันปีติสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันสมาธิสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”

            อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในโวสสัคคะ เธอมีจิตอันอุเบกขาสัมโพชฌงค์ให้เจริญแล้วย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริง ราชกุมาร นี้แลเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเพื่อความรู้ เพื่อความเห็น ความรู้ ความเห็นมีเหตุ มีปัจจัย แม้อย่างนี้”
            “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร”
            “ราชกุมาร ธรรมเหล่านี้ชื่อโพชฌงค์”
            “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์เป็นอย่างนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์แม้อย่างใดอย่างหนึ่งพึงรู้ พึงเห็นตามความเป็นจริง ไม่จำเป็นต้องพูดถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยโพชฌงค์ทั้ง๗ ประการเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากายใจที่มีแก่ข้าพระองค์ผู้ขึ้นภูเขาคิชฌกูฏก็ระงับไป และธรรมอันข้าพระองค์ก็ได้บรรลุแล้ว”

อภยสูตรที่ ๖ จบ
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑[ฉบับมหาจุฬาฯ] ข้อ ๒๓๗  หน้า  ๑๘๖

…………………
ภาพถ่ายโดย Cr.Yan

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญข้าพเจ้าเจริญวิปัสสนาด้วยพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุติ สีลานุติ จาคานุสติมรณานุสติ อาปานานุสติ มีหิริโอตัปปะเป็นอารมณ์

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญข้าพเจ้าเจริญวิปัสสนาด้วยพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุติ สีลานุติ จาคานุสติ
มรณานุสติ อาปานานุสติ มีหิริโอตัปปะเป็นอารมณ์ น้อมถวายปฏิบัติบูชาเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แด่พระรัตนตรัย
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงโปรดรับสักการะปฏิบัติบูชาของข้าพเจ้า เพื่อประโยชน์เพื่อเจริญในธรรมชื่อกัลยาณมิตรแก่ช้าพเจ้าและมนุษย์แลเทวดาตลอดกาลนาน

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันนี้..วันพระขึ้น15ค่ำเดือน9ปีมะโรง

วันนี้..วันพระขึ้น15ค่ำเดือน9ปีมะโรง
——————————–
[๔๑๕] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีต กว่าสุขนั่น
(สุขในปฐมฌาน ปราณีตกว่า กามสุข)

ดูกรอานนท์ ชนเหล่าใดแล พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลาย ย่อมเสวยสุข โสมนัสนั่น อันเป็นเยี่ยม และละเอียด ดังนี้ เราไม่ยอมตามคำนี้ แก่ชน เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั้น
[๔๑๖] ดูกรอานนท์ ก็สุขอื่นอันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌาน อันมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารระงับไป มีปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิอยู่ นี้แลเป็นสุขอื่น อันน่าใคร่ยิ่งกว่า และประณีตกว่าสุขนั่น

——————

รโหคตสูตร

รโหคตสูตร

[๓๙๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอประทานพระวโรกาส ความปริวิตกแห่งใจ เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ผู้หลีกเร้นอยู่ในที่ลับอย่างนี้ว่า

พระผู้มีพระภาค ตรัสเวทนา ๓ อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคตรัส เวทนา ๓ อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาคตรัส พระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้แล

พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นทุกข์ ดังนี้ ทรงหมายเอาอะไรหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่าถูกแล้ว ถูกแล้ว ภิกษุ ดูกรภิกษุ เรากล่าวเวทนา ๓ นี้คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา เรากล่าวเวทนา ๓ นี้

ดูกรภิกษุเรากล่าวคำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอา ความที่สังขารทั้งหลายนั่นเองไม่เที่ยง

ดูกรภิกษุ ก็คำนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ ดังนี้ เรากล่าวหมายเอาความที่สังขารทั้งหลายนั่นแหละ มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดา

[๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล
เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลาย โดยลำดับคือ

เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ

เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจาร ย่อมดับ

เมื่อเข้าตติยฌานปีติย่อมดับ

เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมหายใจเจ้า และลมหายใจออกย่อมดับ

เมื่อเข้าอากาสานัญจายตนฌาน รูปสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าวิญญาณัญจายตนฌาน อากาสานัญจายตนสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าอากิญจัญญายตนฌาน วิญญาณัญจายตนสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าเนวสัญญานา สัญญายตนฌาน อากิญจัญญายตนสัญญาย่อมดับ

เมื่อเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ สัญญาและเวทนาย่อมดับ
ราคะ โทสะ โมหะ ของภิกษุ ผู้สิ้นอาสวะ ย่อมดับ

พระไตรปิฎก ฉบับหลวง (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๘ หน้าที่ ๒๓๑
………………………..
สาธยายพระไตรปิฎกบ้านเพชรบำเพ็ญ
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร

[๓๖]    ทุติยอัญญตรภิกขุสูตร
ว่าด้วยภิกษุรูปหนึ่งทูลถามปัญหา สูตรที่ ๒
เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี
           ครั้งนั้น    ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ    ถวายอภิวาทแล้ว    นั่ง  ณ  ที่สมควร   ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า   “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส    ขอพระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ  ซึ่งข้าพระองค์ได้ฟังแล้ว  จะพึงหลีกออกไปอยู่คนเดียว    ไม่ประมาท    มีความเพียรอุทิศกายและใจอยู่เถิด”
           พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “ภิกษุ    บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด    ก็หมกมุ่นถึงสิ่งนั้นหมกมุ่นถึงสิ่งใด    ก็ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น    ไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด    ก็ไม่หมกมุ่นถึงสิ่งนั้นไม่หมกมุ่นถึงสิ่งใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสิ่งนั้น”
           “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค    ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว    ข้าแต่พระสุคต    ข้าพระองค์เข้าใจแล้ว”
           “ภิกษุ    ก็เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อ  โดยพิสดารได้อย่างไร”
           “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป    ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น    หมกมุ่นถึงรูปใด    ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น    
ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา  ก็หมกมุ่นถึงเวทนานั้น    หมกมุ่นถึงเวทนาใด    ก็ถึงการนับเข้ากับเวทนานั้น  
ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา    ก็หมกมุ่นถึงสัญญานั้น    หมกมุ่นถึงสัญญาใด    ก็ถึงการนับเข้ากับสัญญานั้น  
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร  ก็หมกมุ่นถึงสังขารนั้น    หมกมุ่นถึงสังขารใด    ก็ถึงการนับเข้ากับสังขารนั้น
ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ      ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น    หมกมุ่นถึงวิญญาณใด    ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
           ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป    ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น    ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น    
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา  ก็ไม่หมกมุ่นถึงเวทนานั้น    ไม่หมกมุ่นถึงเวทนาใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับเวทนานั้น  
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา  ก็ไม่หมกมุ่นถึงสัญญานั้น    ไม่หมกมุ่นถึงสัญญาใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสัญญานั้น  
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร  ก็ไม่หมกมุ่นถึงสังขารนั้น    ไม่หมกมุ่นถึงสังขารใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสังขารนั้น  
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ    ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น    ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
           ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ข้าพระองค์เข้าใจเนื้อความแห่งพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างย่อโดยพิสดารได้อย่างนี้”

      “ดีละ    ดีละ    ภิกษุ    เธอเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวไว้อย่างย่อ  โดยพิสดารได้ดีแล้ว    ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึงรูป    ก็หมกมุ่นถึงรูปนั้น    หมกมุ่นถึงรูปใด    ก็ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น    
ถ้าครุ่นคิดถึงเวทนา  ก็หมกมุ่นถึงเวทนานั้น    หมกมุ่นถึงเวทนาใด    ก็ถึงการนับเข้ากับเวทนานั้น  
ถ้าครุ่นคิดถึงสัญญา    ก็หมกมุ่นถึงสัญญานั้น    หมกมุ่นถึงสัญญาใด    ก็ถึงการนับเข้ากับสัญญานั้น  
ถ้าครุ่นคิดถึงสังขาร  ก็หมกมุ่นถึงสังขารนั้น    หมกมุ่นถึงสังขารใด    ก็ถึงการนับเข้ากับสังขารนั้น
ถ้าครุ่นคิดถึงวิญญาณ      ก็หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น    หมกมุ่นถึงวิญญาณใด    ก็ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
           ถ้าบุคคลไม่ครุ่นคิดถึงรูป    ก็ไม่หมกมุ่นถึงรูปนั้น    ไม่หมกมุ่นถึงรูปใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับรูปนั้น    
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงเวทนา  ก็ไม่หมกมุ่นถึงเวทนานั้น    ไม่หมกมุ่นถึงเวทนาใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับเวทนานั้น  
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสัญญา  ก็ไม่หมกมุ่นถึงสัญญานั้น    ไม่หมกมุ่นถึงสัญญาใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสัญญานั้น  
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงสังขาร  ก็ไม่หมกมุ่นถึงสังขารนั้น    ไม่หมกมุ่นถึงสังขารใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับสังขารนั้น  
ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงวิญญาณ    ก็ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณนั้น    ไม่หมกมุ่นถึงวิญญาณใด    ก็ไม่ถึงการนับเข้ากับวิญญาณนั้น
           ภิกษุ    เธอพึงเข้าใจเนื้อความแห่งคำที่เรากล่าวอย่างย่อ  โดยพิสดารอย่างนี้”
           ครั้งนั้น    ภิกษุนั้นชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว  ลุกจากอาสนะถวายอภิวาท    กระทำประทักษิณแล้วจากไป
           ต่อมา    ภิกษุนั้นหลีกออกไปอยู่คนเดียว    ไม่ประมาท    มีความเพียร    อุทิศกายและใจอยู่    ไม่นานนักก็ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ยอดเยี่ยม    อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์   ที่เหล่ากุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ  ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน    รู้ชัดว่า    “ชาติสิ้นแล้ว    อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว  ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว    ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”
           อนึ่ง    ภิกษุนั้นได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง  ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๗ ข้อ ๓๕  หน้า ๔๘
 ————————

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

อาสีวิโสปมสูตร ว่าด้วยอุปมาด้วยอสรพิษ

อาสีวิโสปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยอสรพิษ
[๒๓๘]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
           สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    พระเชตวัน    เขตกรุงสาวัตถี    ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
           “ภิกษุทั้งหลาย    เปรียบเหมือนอสรพิษ ๔ จำพวก๑ ซึ่งมีเดชมากมีพิษกล้าถ้าบุรุษอยากมีชีวิตอยู่ไม่อยากตายรักสุข เกลียดทุกข์เดินมา  คนทั้งหลายพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า    
‘พ่อมหาจำเริญอสรพิษ๔ จำพวกนี้ ซึ่งมีเดชมากมีพิษกล้าท่านพึงปลุกให้ลุกตามเวลาให้อาบน้ำตามเวลา    
ให้กินอาหารตามเวลา  ให้เข้าที่อยู่ตามเวลา    
เวลาใดอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า ๔ จำพวกนี้ตัวใดตัวหนึ่งก็ตามโกรธเวลานั้นท่านก็จะถึงความตาย    
หรือถึงทุกข์ปางตายพ่อมหาจำเริญกิจใดที่ท่านควรทำ    ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’

ขณะนั้นบุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมากมีพิษกล้า    ๔ จำพวกนั้นจึงหนีไปทางใดทางหนึ่งคนทั้งหลายพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า    

‘พ่อมหาจำเริญนักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู๕ จำพวกติดตามมาข้างหลังท่าน โดยหมายใจว่า‘พบท่านในที่ใดก็จะฆ่าท่านในที่นั้นแล’พ่อมหาจำเริญกิจใดที่ท่านควรทำ ท่านจงทำสิ่งนั้นเถิด’

ขณะนั้น    บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก มีพิษกล้า    ๔ จำพวกนั้น และกลัวนักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู  ๕  จำพวก    
จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง คนทั้งหลายพึงบอกเขาอย่างนี้ว่า    ‘พ่อมหาจำเริญ นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่  ๖    นี้เงื้อดาบติดตามมาข้างหลังท่านโดยหมายใจว่า    ‘พบท่านในที่ใด    ก็จะตัดศีรษะท่านในที่นั้นแล’    พ่อมหาจำเริญ    กิจใดที่ท่านควรทำ    ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’

ขณะนั้น    บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก    มีพิษกล้า    ๔    จำพวก    กลัวนักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕  จำพวก    
และกลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖  ซึ่งเงื้อดาบติดตามไป จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง    เขาพบหมู่บ้านร้าง จึงเข้าไปสู่เรือนว่างเปล่าหลังหนึ่ง ลูบคลำภาชนะว่างเปล่าชนิดหนึ่ง    

คนทั้งหลายพึงบอกเขาว่า    ‘พ่อมหาจำเริญ    พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้านเพิ่งเข้ามาสู่หมู่บ้านร้างนี้เดี๋ยวนี้เอง    กิจใดที่ท่านควรทำ    ท่านจงทำกิจนั้นเถิด’

ขณะนั้น    บุรุษนั้นกลัวอสรพิษซึ่งมีเดชมาก    มีพิษกล้า    ๔    จำพวก    กลัวนักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู    ๕    จำพวก    กลัวนักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่    ๖    ซึ่งเงื้อดาบติดตามไป    และกลัวโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน    

จึงหนีไปทางใดทางหนึ่ง    เขาพบห้วงน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง    ซึ่งฝั่งนี้น่าระแวง    มีภัยจำเพาะหน้า    แต่ฝั่งโน้นปลอดภัย    ไม่มีภัยจำเพาะหน้า    เขาไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้น

ขณะนั้น    บุรุษนั้นคิดอย่างนี้ว่า    ‘ห้วงน้ำใหญ่    ฝั่งนี้น่าระแวง    มีภัยจำเพาะหน้า    ฝั่งโน้นปลอดภัย    ไม่มีภัยจำเพาะหน้า    เรานั้นไม่มีเรือหรือสะพานที่จะข้ามไปฝั่งโน้น    ทางที่ดี    เราควรรวบรวมหญ้า    ไม้    กิ่ง    และใบมาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้นใช้มือและเท้าพยายามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี’

           ครั้นบุรุษนั้นรวบรวมหญ้า    ไม้    กิ่ง    และใบมาผูกเป็นแพแล้ว    อาศัยแพนั้นใช้มือและเท้าพยายามไปจน    ถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี  เป็นผู้ลอยบาปดำรงอยู่บนบก
ภิกษุทั้งหลาย    อุปมานี้เรายกมาเพื่อให้เข้าใจเนื้อความแจ่มชัด    ในอุปมานั้นมีอธิบายดังนี้ว่า
         คำว่า    อสรพิษซึ่งมีเดชมาก    มีพิษกล้า    ๔    จำพวก    นั้นเป็นชื่อมหาภูตรูป
๑.    ปฐวีธาตุ    (ธาตุดิน)            
 ๒.    อาโปธาตุ    (ธาตุน้ำ)
 ๓.    เตโชธาตุ    (ธาตุไฟ)              
๔.    วาโยธาตุ    (ธาตุลม)

คำว่า    นักฆ่าซึ่งเป็นศัตรู ๕ จำพวก    นั้น    เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์    ๕    ได้แก่ 
  ๑.    รูปูปาทานขันธ์    (อุปาทานขันธ์คือรูป)
 ๒.    เวทนูปาทานขันธ์  (อุปาทานขันธ์คือเวทนา)
๓.    สัญญูปาทานขันธ์  (อุปทานขันธ์คือสัญญา)
๔.    สังขารูปาทานขันธ์   (อุปาทานขันธ์คือสังขาร)
๕.    วิญญาณูปาทานขันธ์ (อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ)

คำว่า    นักฆ่าผู้เป็นสายลับจำพวกที่ ๖    ซึ่งเงื้อดาบติดตามไป    นั้นเป็นชื่อของนันทิราคะ    
(ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี)

           คำว่า    หมู่บ้านร้าง    นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายใน    ๖    ประการ
ภิกษุทั้งหลาย    ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด    มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน   ๖ประการนั้นทางตา    ก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น    ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้นปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น

           ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด    มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน    ๖    ประการนั้นทางหูก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น    ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น    ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น

           ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด    มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน    ๖    ประการนั้นทางจมูกก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น    ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น    ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น

           ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด    มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน    ๖    ประการนั้นทางลิ้นฯลฯ
           ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด    มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน    ๖    ประการนั้นทางกาย    ฯลฯ
           ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด    มีปัญญาพิจารณาอายตนะภายใน    ๖    ประการนั้นทางใจก็จะปรากฏเป็นของว่างทั้งนั้น    ปรากฏเป็นของเปล่าทั้งนั้น    ปรากฏเป็นของสูญทั้งนั้น

           คำว่า    พวกโจรผู้ฆ่าชาวบ้าน    นั้นเป็นชื่อของอายตนะภายนอก    ๖    ประการ

           ภิกษุทั้งหลาย    ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ    หู    ฯลฯจมูก    ฯลฯ    ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ    กาย    ฯลฯ    ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์ที่น่าพอใจและไม่น่าพอใจ

  คำว่าห้วงน้ำใหญ่นั้นเป็นชื่อของโอฆะ (ห้วงน้ำ)ทั้ง ๔    คือ
               ๑.    กาโมฆะ    (โอฆะคือกาม)                  
๒.    ภโวฆะ    (โอฆะคือภพ)
               ๓.    ทิฏโฐฆะ    (โอฆะคือทิฏฐิ)            
๔.    อวิชโชฆะ    (โอฆะคืออวิชชา)

           คำว่า    ฝั่งนี้น่าระแวง    มีภัยจำเพาะหน้า    
นั้นเป็นชื่อของสักกายะ    (กายของตน)

           คำว่า    ฝั่งโน้นปลอดภัย    ไม่มีภัยจำเพาะหน้า    นั้นเป็นชื่อของนิพพาน

           คำว่า    แพ    นั้นเป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์๘    คือ
                       ๑.    สัมมาทิฏฐิ    (เห็นชอบ)
                                 ฯลฯ
                       ๘.    สัมมาสมาธิ    (ตั้งจิตมั่นชอบ)

           คำว่า    ใช้มือและเท้าพยายามไป    นั้นเป็นชื่อของวิริยารัมภะ    (ปรารภความเพียร)

           ภิกษุทั้งหลาย    คำว่า    เป็นผู้ลอยบาปข้ามถึงฝั่งดำรงอยู่บนบก    นั้นเป็นชื่อของพระอรหันต์”

พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๘  ข้อ ๒๓๘  หน้า ๒๓๖

———————-
ไม่ต้องสู้กับใครตลอดชาติ..
เพียรสู้กับใจตนให้ชนะ..
ชนะใจตนเองได้..ชนะ..สิ่งทั้งปวง

แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันนี้..วันพระแรม15ค่ำสิ้นเดือน8ปีมะโรง

วันนี้..วันพระแรม15ค่ำสิ้นเดือน8ปีมะโรง
…………………………………………….
พิจารณาเห็น “ความไม่เที่ยง” บ่อยๆ เนืองๆ ว่า
• รูป ไม่เที่ยง
• เวทนา ไม่เที่ยง
• สัญญา ไม่เที่ยง
• สังขาร ไม่เที่ยง
• วิญญาณ ไม่เที่ยง
เป็นผู้ตามเห็น “ความไม่เที่ยง” ใน “อุปทานขันธ์”เหล่านี้ อยู่ ด้วยอาการอย่างนี้
“พระศาสดา” ทรง ตรัสสอน ว่า
นี่ เรียกว่า “อนิจสัญญา”
ซึ่งเมื่อบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ
ย่อมมี “อานิสงส์” มากกว่า การเจริญ “เมตตาจิต” แม้ชั่วเวลาสูดดมของหอม
………………………..
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ