โทษของความตระหนี่

..โทษของความตระหนี่..

 เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ทรงปรารภอานันทเศรษฐี ความว่า ในกรุงสาวัตถี เศรษฐีชื่ออานันทะ มีสมบัติประมาณ ๘๐ โกฏิ 

แต่เป็นคนตระหนี่มาก ได้ฝังทรัพย์ไว้ ๕ แห่ง ไม่ยอมบอกแก่บุตรของตน เมื่อจะตาย มีความหม่นหมองเพราะความตระหนี่

ตายแล้วไปเกิดเป็นลูกของหญิงจัณฑาลคนหนึ่ง ซึ่งอยู่อาศัยใกล้ประตูพระนครนั้น เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงทราบว่า อานันทเศรษฐีทำกาละแล้วรับสั่งให้เรียกมูลสิริผู้เป็นบุตรเข้ามาเข้าเฝ้า ทรงตั้งให้เป็นเศรษฐีแทนพ่อ

 ตระกูลคนจัณฑาลเหล่านั้น รับจ้างทำงานร่วมกัน พอได้ค่าจ้างพอเลี้ยงตัวครอบครัวเป็นวันๆไป เมื่อถือปฏิสนธิของทารกนั้น 

ทำให้ไม่ได้ค่าจ้าง ทั้งไม่ได้อาหารมาก
ได้พอเลี้ยงปากเลี้ยงท้องให้ทรงอยู่ได้เท่านั้น

จึงประชุมปรึกษากันว่า ในระหว่างพวกเรานี้คงมีหญิงกาลกิณีอยู่เป็นแน่จึงได้แบ่งแยกกันออกไป

ให้บิดามารดาของเด็กนั้นออกไปที่อื่น ทำให้ได้รับความลำบากอดอยากยากแค้นตลอดเวลาที่ลูกอยู่ในท้อง

พอคลอดออกมา ทารกนั้นมีมือ เท้า นัยน์ตา หู จมูก ปาก ไม่ตั้งอยู่ในที่ตามปกติ มีอวัยวะวิกล มีรูปร่างน่าเกลียดมาก ดุจปีศาจคลุกฝุ่น ถึงจะเป็นเช่นนั้น พ่อแม่ก็ไม่ยอมละทิ้งบุตรของตน ย่อมมีความเยื่อใยรักใคร่อยู่เสมอ

นางเลี้ยงลูกมาด้วยความยากลำบาก ถ้าวันไหนพาลูกไปด้วยวันนั้นจะไม่ได้อะไรเลย วันไหนให้ลูกอยู่บ้าน แม่ไปหารับจ้างเอง วันนั้นจึงได้ค่าจ้างมาเลี้ยงลูก

 เมื่อลูกโตขึ้นมาพอสมควรแล้ว จึงกล่าวกับลูกว่า “พ่อแม่มีความลำบากมากพ่อแม่ไม่อาจเลี้ยงเจ้าได้ อาหารและวัตถุทั้งหลาย มีข้าว เป็นต้น ที่เขาจัดไว้เพื่อคนกำพร้าอนาถาและคนเดินทางในเมืองนี้มีอยู่ เจ้าจงไปขอทานเขากินเถิด” 

แล้วปล่อยบุตรนั้นไป เด็กนั้นก็เที่ยวขอทาน เขากินไปตามลำดับเรือน เมื่อไปถึงที่ตนเกิดคราวเป็นอานันทเศรษฐี ระลึกชาติได้จึงเข้าไปสู่เรือนของตน

ไม่มีใครสังเกตเขาเลย พอถึงซุ้มประตูที่ ๔ พวกบุตรของมูลสิริเศรษฐีเห็นแล้วมีความหวาดกลัวมากจากรูปร่างหน้าตาที่อัปลักษณ์ถึงกลับร้องไห้ คนทั้งหลายในบ้านนั้นจึงพาขับไล่เด็กนั้นว่า

เอ็งจงออกไปคนกาลกิณี โบยพลางนำออกไปพลาง แล้วโยนไว้ที่กองหยากเยื่อ

พระศาสดา เสด็จไปบิณฑบาตกับพระอานนทเถระ เมื่อไปถึงที่นั้นจึงทอดพระเนตรดูพระเถระ พระเถระจึงทูลถามแล้วตรัสบอกพฤติการณ์นั้น พระเถระให้เชิญมูลสิริเศรษฐีผู้บุตรมา

พวกประชาชนก็มา ประชุมกันเป็นการใหญ่ พระศาสดาตรัสเรียกมูลสิริเศรษฐีมาแล้ว ตรัสว่า ท่านรู้จักทารกนั้นไหม ?

มูลสิริเศรษฐีทูลว่า ไม่รู้จักพระเจ้าข้า

จึงตรัสบอกว่า ทารกนั้นคืออานันทเศรษฐี ผู้บิดาของท่าน
แล้วยังทารกนั้นให้บอกขุมทรัพย์ด้วยพระดำรัสว่า

อานันทเศรษฐีท่านจงบอกขุมทรัพย์ใหญ่ ๕ แห่งแก่บุตร ของท่าน

เบื้องแรกมูลสิริเศรษฐียังไม่เชื่อครั้นขุดขุมทรัพย์ได้ถูกต้อง จึงเชื่อและเลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้าได้ขอถึงพระศาสดาว่าเป็นสรณะ

พระบรมศาสดาจึงทรงแสดงธรรมแก่มูลสิริเศรษฐีว่า

“ถึงแม้ว่าคนเราจะมีบุตร มีทรัพย์มากขนาดเป็นเศรษฐี ทรัพย์ก็ดี บุตรก็ดีหากทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ไม่สามารถจะยังสุขอะไรให้เกิดแก่ตนได้
ดูตัวอย่างอานันทเศรษฐีเถิดท่านทั้งหลาย”
…………………………………………………

เกิดเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มหาศาล
ตายแล้วเกิดใหม่..เกิดเป็นลูกขอทาน

มีก็เหมือนไม่มี..น่าคิดจริงหนอ

..ทำบุญ..ทำทานกันไว้เถิด..
..เกิดเป็นคน..ไว้เตรียมผจญชีวิตใหม่..
..เคยทำบุญทำคุณปางก่อนใด..
..ขอบุญคุ้มไปชีวิตหน้า..

..เนื้อเพลงพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 9 บางส่วน..

..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..

ปุโรหิตกินขี้แพะ

ปุโรหิตกินขี้แพะ

พระพุทธเจ้าประทับอยู่ในวัดพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์รูปหนึ่ง

ได้ยินมาว่า ภิกษุรูปนั้นเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ได้เรียนจบวิชาดีดกรวด

วันหนึ่ง ได้ฟังธรรมแล้วเกิดความเลื่อมใส ออกบวชถวายชีวิตในพระศาสนา แต่กลับเกียจคร้าน

วันหนึ่งเธอไปสรงน้ำกับเพื่อนภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งที่ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดี

ขณะพักผ่อนอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำ มีหงส์ขาว ๒ ตัวบินผ่านมา เธอจึงบอกเพื่อนกันว่าสามารถที่จะเอาก้อนกรวดดีดไปที่นัยน์ตาของหงส์ตัวหลังทำให้ตกลงมาที่เท้า

อ่านต่อ

อนุโมทนากับท่านที่สร้างกุศลผลบุญ

พุทธังอนันตัง ธัมมังจักวารัง สังฆังนิพพานัง บุญกุศลที่ข้าพเจ้าเคยมีโอกาสถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์ในทิศทั้งสี่ประมาณไม่ได้

พุทธังอนันตัง ธัมมังจักวารัง สังฆังนิพพานัง บุญกุศลที่ข้าพเจ้าเคยถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์ในทิศทั้งสี่ประมาณไม่ได้

พุทธังอนันตัง ธัมมังจักวารัง สังฆังนิพพานัง บุญกุศลที่ข้าพเจ้าเคยสร้างวิหารลานเจดีย์สร้างโบสถ์
สร้างห้องน้ำ สร้างศาลา สร้างพระพุทธรูป
อุปฐากพระสงฆ์ในการศึกษาวิปัสสนากัมฐานและเรียนปริยัติธรรม ในพระพุทธศาสนา ประมาณไม่ได้
คุณแห่งทานศีลภาวนาและคุณวิเศษใดที่เกิดขึ้นในพระพุทธศาสนาแล้ว
ขอให้ท่านทั้งหลายจงอนุโมทนาและมีส่วนในบุญจำนวนมหาศาลของข้าพเจ้าในกาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

ขอให้ท่านทั้งหลายจงเจริญด้วยมนุษย์สมบัติ มีชีวิตอยู่ในสวรรค์สมบัติ มีพระนิพพานสมบัติเป็นที่พึ่งในที่สุดเทอญ

อ่านออกเสียง
พุทธังอนันตัง ธัมมังจักวารัง สังฆังนิพพานัง ข้าพเจ้าขออนุโมทนากับท่านที่สร้างกุศลผลบุญในครั้งนี้ ขอให้ข้าพเจ้าได้มีส่วนในบุญของท่านทั้งด้วยเถิด

..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562

..วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562..

..ถวายภัตตาหารเช้า-เพลน้ำปานะ แก่พระนิสิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์ปริญญาตรี โท เอก ณ พุทธมณฑล อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม
บริเวณสวนไผ่ ศาลามรรค 8

..อนุโมทนากับทุกท่าน..ที่ร่วมบุญใหญ่ในครั้งนี้..หากว่างท่านสามารถมาร่วมถวายภัตตาหารได้ทุกวัน 13 – 24 ธันวาคม 2562..

..พระสงฆ์ 501 รูป เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฎฐานสี่ประจำปี 2562 เป็นเวลา 10 วัน

..ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย..จงส่งผลให้ทุกท่านจงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฎิพาน ธนสารสมบัติเทอญ..

..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..


ใคร่เชิญชวนร่วมบุญตามกำลังศรัทธาหรือร่วมงานได้ตลอด 10 วัน

..สร้างบุญกุศลให้เกิดขึ้นในตนด้วยกำลังทรัพย์..กำลังกาย..ในแต่ละวัน..เท่ากับได้ใส่บาตรแก่พระสงฆ์ 1,002 รูป..ทุกวัน..

..ส่งท้ายปีเก่า..ด้วยมหาสังฆทาน..ต้อนรับปีใหม่ด้วยใจที่เบิกบาน..รับบุญที่ทำ..เจริญ..รวย..สำเร็จ..

..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..


ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพภัตตาหาร น้ำดื่ม ถวายพระร่วมกับคุณแม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญได้นะคะ โดยร่วมบุญภัตตาหาร น้ำดื่ม 300 บาท จะได้ของเป็นของที่ระลึกจากแม่ชี 1 ชิ้นค่ะ

: แหวนนะโม ด้านในเป็นชื่อคุณแม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ (มีไซส์ 55-62) หรือ
: ข้อมือหินจุ่ยเจี่ย (มีจำนวนไม่มาก) หรือ
: แหวนพิรอด + ข้อมือค้าง่าย..ขายคล่อง หรือ
: ตะกรุด 5 มหามงคล หรือ
: หลวงปู่ทวด (แบบแขวน) หรือ
: ล็อกเก็ตคุณแม่ชีทศพร ขนาดเหรียญ 2 บาท หรือ
: หนังสือ “อ่านวันละหน้า..เล่ม 1” หรือ
: หนังสือ “อ่านวันละหน้า..เล่ม 2” หรือ
: หนังสือ “ที่สุดคำอธิษฐาน”

โดยสามารถร่วมบุญร่วมกันกับคุณแม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ ได้ที่เลขบัญชีธนาคารกสิกรไทย 633-211-431-8 ชื่อบัญชี ทศพร วชิระบำเพ็ญ สาขาลาดพร้าว 67

โอนแล้วรบกวนส่งสลิปการโอนพร้อมชื่อที่อยู่จัดส่ง ให้กับทางเจ้าหน้าที่ เพื่อทำการจัดส่งของที่ระลึกให้ท่านนะคะ

: แจ้งที่ไอดีไลน์ @baanphetbumpen (อย่าลืมใส่@) หรือ
: กดที่ลิงค์ https://line.me/R/ti/p/%40baanphetbumpen

รบกวนแจ้งเฉพาะทางไลน์นะคะข้อความทางเฟซเปิดอ่านไม่ได้คะ

เจ้าหน้าที่ตอบล่าช้าต้องขออภัยนะคะ

++เพื่อความรวดเร็วในการจัดส่ง รบกวนแจ้งสลิปการโอน ชื่อที่อยู่จัดส่ง และแจ้งรายการของที่ระลึกที่ต้องการให้กับเจ้าหน้าที่เลยนะคะ++

ผู้ที่ร่วมบุญช่วงวันที่ 12-23 ธันวา 62 ขออนุญาตจัดส่งของหลัง 25 ธันวา 62 นะคะ<<

=========================

..สมาทานศีล 5 ก่อนใส่แหวนพิรอด จะทำให้เรื่องร้ายกลายเป็นดี แคล้วคลาดปลอดภัย..

..สายสิญจน์ข้อมือ..ค้าง่าย..ขายคล่อง ..

..ตะกรุดข้อมือ..เป็นตะกรุดที่ทำให้คนร่วมบุญสร้างศาลาวัดพิชัยญาติ เป็นจำนวนแสนดอก แม่ชีทำเองทุกดอก ทำไว้เมื่อปี 2552-2553 เหลือไม่มากจึงทำเป็นตะกรุดข้อมือ..

..ข้อมือหินจุ้ยเจี่ย..เป็นหินที่ช่วยเรื่องสมาธิยิ่งใส่สวดมนต์ไหว้พระ จะเปรียบดั่งเป็นลูกแก้วสมปรารถนา ปัดเป่าสิ่งไม่ดี..คนจีนเชื่อว่าเป๋นแร่รัตนชาติ เป็นหินศักดิ์สิทธิ์..ช่วยปัดเป่าโรคภัย ไข้เจ็บ..

..ตะกรุด 5 สมเด็จเบญจภาคี..
..เป็นตะกรุดที่คุณแม่ทำเองทุกขั้นตอน ทั้งม้วนภาพ พันตะกรุด ระหว่างที่คุณแม่ทำตะกรุด คุณแม่จะสวดชินบัญชรตลอด ด้านในตะกรุด เรามีตะกรุดนี้ เปรียบเรามีสมเด็จอยู่ด้วย ทำอะไรประสบความสำเร็จง่าย มีคนช่วยเหลือ เกื้อหนุน หนุนนำ..

..หลวงพ่อทวดของขวัญ..เป็นวัตถุมงคลที่ยืนยันในความแคล้วคลาดปลอดภัย ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก..

..วัตถุมงคลทุกชิ้นอธิษฐาน..ด้วย..ศีล..ทาน..ภาวนา..ท่านใดมีไว้ครอบครองถือว่าเป็นบุญ เมื่อนำไปใส่สมาทานศีล 5 ทุกวัน ยิ่งเพิ่มความมงคลให้กับผู้ส่วมใส่

..หนังสืออ่านวันละหน้าเล่มที่ 1, 2 มีเรื่องราวที่น่าติดตาม สาระความรู้ต่างๆสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้..

..แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..

บัณฑิตจอบเหี้ยน

บัณฑิตจอบเหี้ยน

ในสมัยพุทธกาล มีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่งชื่อจิตตหัตถ์ มีอาชีพเลี้ยงโค วันหนึ่งโคเกิดหายไป เขาจึงไปเที่ยวหาในป่า และได้พบโคในเวลาเที่ยง เมื่อต้อนโคเข้าฝูงเสร็จแล้ว 

เขารู้สึกหิว เขาจึงเข้าไปสู่วิหารแห่งหนึ่งอันเป็นที่อยู่ของพระภิกษุ ด้วยหวังว่าจะได้อะไรกินบ้าง

ฝ่ายพระภิกษุ เมื่อเห็นเขาหิวจึงให้อาหารที่เหลือจากการฉัน ในเวลานั้นพระภิกษุมีอาหารเหลือเฟือมาก ด้วยมีลาภสักการะที่อาศัยพระบารมีของพระพุทธเจ้า 

เมื่อเขากินอาหารจนอิ่มหนำสำราญแล้วจึงถามพระภิกษุว่า วันนี้ไปรับกิจนิมนต์มาหรือ แต่คำตอบที่ได้รับ ทำให้ทราบว่าแม้วันธรรมดาก็มีฉันอย่างนี้เสมอ

จิตตหัตถ์ได้ฟังก็คิดว่า

“เราตื่นแต่เช้าทำงานทั้งวัน ก็ยังไม่ได้อาหารประณีตอย่างที่เหลือจากพระภิกษุในวันนี้ ถ้าเช่นนั้นเราจะเป็นคฤหัสถ์ทำไม ออกบวชเสียดีกว่า”

เมื่อคิดดังนี้แล้ว เขาจึงขอบวชกับพระภิกษุ หลังจากบวชเขาได้อาศัยลาภสักการะ ไม่นานนักสรีระก็อ้วนท้วนขึ้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะบวช พระจิตตหัตถ์เคยแต่งงานมาแล้ว และภรรยาก็ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยความคิดถึงภรรยา เขาจึงขอสึกออกไป ครั้นไปทำงานหนักเข้าก็สูบผอมลงอีก จึงกลับมาหาพระภิกษุเพื่อขอบวช เขาบวชๆ สึกๆ อยู่อย่างนี้ถึง 6 ครั้ง 

จนกระทั่งวันหนึ่งในช่วงที่สึกไปเป็นฆราวาส หลังกลับจากทำงานในป่า จิตตหัตถ์ก็เดินเข้าไปในเรือน ด้วยคิดจะนำผ้ากาสายะไปบวชอีก บังเอิญเห็นภรรยาที่กำลังตั้งครรภ์นอนหลับอยู่

ภาพที่เห็นคือ ผ้านุ่งของเธอหลุดลุ่ย น้ำลายไหลออกจากปากที่อ้าอยู่ เสียงกรนดังครืดๆ อาการนั้นปรากฏแก่จิตตหัตถ์เหมือนศพที่ขึ้นพอง เขาคิดว่า

“สรีระนี้ไม่เที่ยงหนอ เป็นทุกข์หนอ เราบวชมามากมายหลายครั้งแล้ว แต่เพราะอาศัยสรีระนี้จึงต้องสึกออกมาเนืองๆ ครั้งนี้เราจะออกบวชแล้วไม่กลับมาอีก”

เมื่อจิตตหัตถ์เดินออกจากบ้านไปแล้ว ก็บ่นพึมพำไปด้วยว่า “ไม่เที่ยง เป็นทุกข์” และขณะเดินไปนั่นเอง เขาก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล เมื่อถึงวิหารก็ขอบวชเหมือนเช่นเคย 

พระภิกษุทั้งหลายเอือมระอากับการบวชของเขาเต็มที จึงกล่าวว่า

“จิตตหัตถ์ พวกเราบวชให้ท่านไม่ได้อีกแล้ว ความเป็นสมณะของท่านไม่มีประโยชน์อะไรเลย ท่านบวชๆ สึกๆ จนหัวเหมือนหินลับมีดแล้ว” 

แต่จิตตหัตถ์ก็อ้อนวอนขอบวชอีกครั้งเดียวเท่านั้น ในที่สุดพระภิกษุจึงบวชให้อีก นับเป็นครั้งที่ 7 การบวชครั้งนี้เขามีความตั้งใจเด็ดเดี่ยวว่าจะไม่สึกอีก 

และก็สมความตั้งใจ เขาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ภายในเวลา 2 – 3 วันเท่านั้น แต่ด้วยความที่เคยเป็นคนโลเล เมื่อถึงคราวเอาจริงจึงไม่ค่อยมีใครเชื่อ เมื่อเห็นพระจิตตหัตถ์บวชนานวันเข้า เพื่อนภิกษุด้วยกันจึงถามเชิงล้อเลียนว่า

“จิตตหัตถ์ ยังไม่ถึงวันสึกอีกหรือ ทำไมครั้งนี้จึงชักช้าอยู่เล่า”

พระจิตตหัตถ์ ตอบว่า

“เมื่อก่อนนี้ข้าพเจ้ามีความเกี่ยวข้องอยู่ แต่บัดนี้ข้าพเจ้าตัดความเกี่ยวข้องนั้นได้แล้ว”

เมื่อได้ฟังเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าใจว่าพระจิตตหัตถ์พูดอวดมรรคอวดผล จึงไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลให้ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสว่า 

“ภิกษุทั้งหลาย จิตตหัตถ์บุตรของเราไปๆ มาๆ อยู่ในขณะที่ยังไม่รู้พระสัทธรรม จิตยังไม่มั่นคง บัดนี้บุตรของเราละบุญและบาปได้แล้ว”

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้หยาบนัก กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์เห็นปานนี้ กิเลสยังให้มัวหมองได้ ทำให้ต้องบวชถึง 7 ครั้ง สึกถึง 6 หน”

ขณะนั้นองค์พระศาสดาเสด็จมาทรงสดับกถานั้นด้วย จึงตรัสว่า

“ถูกแล้วภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้เป็นของหยาบนัก หากกิเลสเป็นตัวตนแล้วไซร้ จักรวาลนี้ก็แคบไป พรหมโลกก็ต่ำไป ไม่พอบรรจุกิเลสได้เลย กิเลสนี้เองสามารถทำบุรุษอาชาไนยผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแม้เช่นเราให้มัวหมองได้ ไม่ต้องกล่าวถึงคนเหล่าอื่น เราเองก็เคยอาศัยข้าวฟ่าง ลูกเดือยเพียงครึ่งทะนานและจอบเหี้ยน จนต้องบวชแล้วสึกถึง 6 หน”

พระภิกษุเกิดความสงสัยว่าเรื่องราวเป็นเช่นไร พระศาสดาจึงตรัสเล่าเรื่องในอดีตของพระองค์ดังนี้

ในอดีตกาลมีบุรุษผู้หนึ่งชื่อ กุททาลบัณฑิต อาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี เขาออกบวชเป็นนักพรตภายนอกพระพุทธศาสนา และอาศัยอยู่ ณ หิมวันตประเทศมา 8 เดือน พอถึงฤดูฝนแผ่นดินชุ่มชื้น เขาคิดว่า

“ในเรือนของเรามีข้าวฟ่างและลูกเดือยอย่างละครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยนอีกอันหนึ่ง เราพอทำการเพาะปลูกได้ อย่าให้ข้าวฟ่างและลูกเดือยต้องเสียไปเลย” 

เมื่อคิดได้ดังนี้แล้วเขาจึงสึกออกมาเพาะปลูก เมื่อเมล็ดพืชแก่ก็เก็บเกี่ยว แล้วเก็บไว้ทำพันธุ์ทะนานหนึ่ง นอกนั้นนำมาบริโภคแล้วออกบวชอีก 8 เดือน พอถึงฤดูฝนแผ่นดินชุ่มชื้นก็สึกอีก ทำเช่นนี้ ถึง 7 ครั้ง

ในครั้งที่ 7 เกิดสังเวชสลดใจคิดว่า

“เราควรจะทิ้งข้าวฟ่าง ลูกเดือย และจอบเหี้ยนในที่ใดที่หนึ่งที่จะหามันไม่เจออีก”

ตอนแรกเขาจะทิ้งในแม่น้ำคงคา แต่แล้วกลับกลัวว่าตัวเองจะลงไปงมในภายหน้าได้ จึงนำผ้าห่อข้าวฟ่างและลูกเดือย ไปพันเข้ากับจอบ จับด้ามจอบเวียนเหนือศีรษะ 3 รอบแล้ว หลับตาเหวี่ยงลงไปในแม่น้ำคงคา เสร็จแล้วจึงลืมตาขึ้นดู เมื่อไม่เห็นว่าโยนลงไปตกที่ใด จึงเปล่งเสียงดังขึ้นสองครั้งว่า

“เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว”

ขณะนั้นบังเอิญพระเจ้ากรุงพาราณสีเสด็จกลับจากการปราบปัจจันตชนบท 

สั่งให้ทหารปลูกค่ายพักที่ริมฝังแม่น้ำคงคา ตกเย็นพระองค์เสด็จลงในแม่น้ำเพื่อสรงสนานพระวรกาย

ได้ยินเสียงตะโกนของกุททาลบัณฑิต ทรงไม่พอพระทัย เพราะโดยปกติคำพูดที่ว่า “ชนะแล้ว ชนะแล้ว” ย่อมไม่เป็นที่พอพระทัยของผู้ยิ่งใหญ่เช่นพระราชา ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงเสด็จเข้าไปหาพร้อมตรัสถามว่า

“เราทำการย่ำยีศัตรูมาเดี๋ยวนี้ด้วยเข้าใจว่า เราชนะแล้ว แต่ท่านกลับร้องว่า เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว หมายความว่ากระไร” กุททาลบัณฑิตทูลตอบว่า

“พระองค์ทรงชนะโจรภายนอก แต่ความชนะของพระองค์อาจกลับแพ้ได้ ส่วนข้าพระองค์ชนะโจรภายในคือความโลภ แล้วจักไม่แพ้อีก การชนะโจรภายในคือความโลภดีกว่าการชนะโจรภายนอก” 

จากนั้นกุททาลบัณฑิตก็กล่าวคาถาย้ำว่า

“ความชนะใดกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นยังไม่ดี ส่วนความชนะใดไม่กลับมาแพ้อีก ชัยชนะนั้นถือว่าดี”

เมื่อกล่าวจบ กุททาลบัณฑิตมองดูแม่น้ำคงคา ทำกสิณมีน้ำเป็นอารมณ์ (อาโปกสณิ) ให้เกิดขึ้น แล้วจึงบรรลุคุณพิเศษ ลอยขึ้นสู่อากาศ

พระราชาเห็นดังนั้นจึงเกิดความเลื่อมใส ขอบรรพชา ไพร่พลและพระราชาอื่นๆ ในแคว้นใกล้เคียงทรงสดับเรื่องราว แล้วเสด็จออกมาบวชตามถึง 7 พระองค์

หลังจากเล่าเรื่องนี้ให้เหล่าพระภิกษุที่สงสัยในการตรัสรู้ธรรมของพระจิตตหัตถ์ฟังแล้ว พระศาสดาได้ตรัสในที่สุดว่า

“ภิกษุทั้งหลาย กุททาลบัณฑิตในกาล..นั้นคือเราในบัดนี้…ขึ้นชื่อว่ากิเลสเป็นของหยาบนัก!”

………………………………………………………
“ความชนะใดกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นยังไม่ดี ส่วนความชนะใดไม่กลับมาแพ้อีก ชัยชนะนั้นถือว่าดี”

สิ่งที่เราเห็นไม่ใช่สิ่งที่เราคิด
อย่าใช้อคติในใจตัดสินใครเพียงแค่เห็น..
กำจัดอคติเราดีกว่าเฝ้าดูความผิดคนอื่น

สอบสวนใจตนเท่าลมหายใจ
ชนะใจตนเองเป็นสุขทุกเมื่อ

ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

เทพธิดาข้าวตอก

เทพธิดาข้าวตอก
สมัยหนึ่ง พระมหากัสสปะเข้านิโรธสมาบัติตลอด ๗ วัน

ในถ้ำชื่อปิปผลิคูหาที่ภูเขาคิชกูฏเมืองราชคฤห์

ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว ตรวจดูสถานที่ๆจะไปบิณฑบาตโปรดสัตว์ด้วยตาทิพย์

ท่านก็ได้เห็นกุลธิดาคนหนึ่งกำลังเด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่ พิจารณาดูก็ว่านางมีศรัทธา สามารถจะทำการสงเคราะห์ด้วยอาหารแก่เราได้ และเมื่อเธอทำทานแล้วจักได้สมบัติเป็นอันมาก

พระเถระครองจีวร ถือบาตร เดินไปที่นาข้าวสาลี  แล้วหยุดยืนอยู่ นางกุลธิดาเห็นพระเถระแล้วมีจิตใจเลื่อมใส เกิดปีติแผ่ซ่านทั่วกายใจ กล่าวว่า

“นิมนต์หยุดก่อนเจ้าข้า”

นางถือข้าวตอกเข้าไปเกลี่ยลงในบาตรของท่าน ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วตั้งความปรารถนาว่า “ท่านเจ้าข้า ขอดิฉันพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านได้เห็นแล้ว”
พระเถระอนุโมทนาว่า
“ความปรารถนาของท่านจงสำเร็จ”

นางกุลธิดาไหว้แล้วมองตามไป ในใจก็นึกถึงทานที่ถวายแล้วเดินไป หนทางที่นางเดินไปนั้นมีรูงูมีพิษร้ายอยู่ พระเถระเดินผ่านมันก็ฉกแต่ติดจีวร

มันเลื้อยมาฉกนาง พิษแผ่ซ่าน ทำให้นางล้มลงสิ้นใจตาย

บังเกิดในวิมานทองใหญ่ประมาณ ๓๐ โยชน์ (๔๘๐ ก.ม.) ในสวรรค์ดาวดึงส์ มีร่างกายใหญ่ ๓ คาวุต ประดับด้วยเครื่องประดับหลายอย่าง เป็นเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น
นางเทพธิดานั้นนุ่งผ้าทิพย์ประมาณ ๑๒ ศอกผืนหนึ่ง ห่มอีกผืนหนึ่ง แวดล้อมด้วยนางเทพอัปสร ๑,๐๐๐ นาง ยืนอยู่ที่ประตูวิมานที่ประดับด้วยขันทองคำ และมีข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่

นางตรวจดูทิพยสมบัติด้วยจักษุทิพย์แล้วรู้ว่า
“เราได้ทิพยสมบัติเห็นปานนี้ ด้วยผลของการถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสปเถระ”

คิดต่ออีกว่า
“เราได้สมบัติเห็นปานนี้เพราะกุศลกรรมนิดหน่อย บัดนี้เราไม่ควรประมาท เราจะไปทำวัตรปฏิบัติแก่พระผู้เป็นเจ้า สมบัติของเราจะได้ถาวร”

จึงถือเอาไม้กวาดและกระเช้าสำหรับเทขยะมูลฝอย ที่ทำด้วยทองคำ ไปกวาดบริเวณที่อยู่ของพระเถระ  จัดเตรียมน้ำใช้  น้ำฉันไว้แต่เช้าตรู่  พระเถระเห็นบริเวณสะอาด น้ำใช้น้ำดื่มเต็มอยู่ ก็คิดว่าเป็นการกระทำของภิกษุหรือสามเณร

แม้ในวันที่ ๒ นางก็ได้กระทำอย่างนั้น ฝ่ายพระมหากัสสปเถระก็คิดเช่นนั้น แต่ในวันที่ ๓ พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดพื้นของนาง และเห็นแสงสว่างจากสรีระส่องเข้าไปทางช่องประตู ท่านจึงเปิดประตูออกมาถามว่า

“นั่นใครกวาดพื้นอยู่”

เทพธิดาตอบว่า

“ท่านเจ้าข้า ดิฉันเอง ดิฉันเป็นอุปฐากของท่าน มีชื่อลาชเทพธิดา”

พระเถระปฏิเสธว่า ดูเหมือนอุปฐากที่เป็นหญิงชื่อเช่นนี้ของเราไม่มี

นางเทพธิดาจึงเล่าความให้ท่านทราบว่า

“ท่านเจ้าข้า ดิฉันเป็นผู้ดูแลนาข้าวสาลี ได้เคยถวายข้าวตอกด้วยความเลื่อมใสแด่พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันถูกงูกัดตายแล้วเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ ดิฉันได้ทิพยสมบัติเพราะพระผู้เป็นเจ้า จึงมากระทำวัตรปฏิบัติเพื่อทำให้สมบัติมั่นคง เจ้าข้า”

พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฏี
วัดเชตวัตมหาวรวิหาร เมืองสาวัตถี
ทรงสดับเสียงของนางแล้ว ทรงแผ่พระรัศมีเป็นประดุจอยู่ตรงหน้านางเทพธิดา ตรัสว่า

“เทวธิดา การทำความสังวร (สำรวม) นั้น เป็นภาระของกัสสปะบุตรของเรา
แต่การกำหนดว่านี้เป็นประโยชน์ของเราผู้มุ่งกระทำบุญ ย่อมเป็นภาระของผู้มีความต้องการบุญเพราะการทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้และภพหน้า”
 
แล้วตรัสพระคาถาว่า …

"ถ้าบุคคลจะทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อยๆ พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะว่าการสั่งสมบุญทำให้เกิดสุข"

จบพระเทศนา นางเทวธิดายืนอยู่ห่าง ๔๕ โยชน์ (๗๒๐ ก.ม.) ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว

พระพุทธองค์ทรงตรัสก่อนจะดับขันถ์ปรินิพพานว่า

…มีความชราซ่อนอยู่ในความหนุ่มสาว…
…มีความเจ็บไข้ซ่อนอยู่ในความไม่มีโรค…
…มีความตายซ่อนอยู่ในความมีชีวิต..
…สัตว์ทั้งหลายพึงอย่าประมาท…
…………………………………………………..
…………………………………………………..
พุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ สังฆานุภาพ
ในพระพุทธศาสนากว้างใหญ่ไพศาลยิ่ง
ไกลแค่ไหนก็ได้ยิน เมื่อความมีจิตเลื่อมใสมีใจศรัทธา
—-ระยะทางใกล้ใจ—

…อย่าประมาทว่าวันคืนจะยาวนาน..
…อย่าประมาทว่าสังขารจะยืนยง…
…อย่าประมาทว่าลาภยศคงจะช่วยได้…
….อย่าประมาทว่าความตายจะไม่มีมา..
….อย่าประมาทว่าเรานั้นหนายังหนุ่มสาว..
….อย่าประมาทว่าพรุ่งนี้เช้าเราจะยังอยู่..

ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

อานิสงส์การรักษาศีล ครึ่งวัน

เรื่อง อานิสงส์การรักษาศีล ครึ่งวัน

ในสมัยพุทธกาล  มีฤๅษี ๕๐๐ ตน บำเพ็ญภาวนาอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลานาน  ต่อมาได้ชวนกันออกจากป่า เพื่อเข้าไปในเมือง ขณะที่เดินทางออกมาได้ครึ่งทาง ได้มานั่งพักอยู่ใต้ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง 

หัวหน้าฤๅษีคิดในใจว่า
“ต้นไทรใหญ่ต้นนี้ เห็นทีจะมีเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่สิงสถิตอยู่อย่างแน่นอน  พวกเราจะดีใจเป็นอย่างยิ่งทีเดียว  ถ้าหากเทวดาหาน้ำเย็นๆ มาให้หมู่ฤๅษีได้ดื่มแก้กระหาย” 

พอท่านฤๅษีคิดเสร็จ ความอัศจรรย์ก็บังเกิดขึ้น  เทวดาก็ได้บันดาลให้มีนํ้าดื่ม  ท่านฤๅษีได้คิดอยากได้อะไร ก็ได้ตามความปรารถนา
 
     หัวหน้าฤๅษีคิดว่า

“เราปรารถนาอะไร สิ่งนั้นก็สำเร็จแก่เราแล้ว  เทวดาตนนี้เป็นผู้มีฤทธานุภาพจริงๆ หนอ  ขณะนี้เราอยากเจอเทวดาตนนี้  ถ้าเทวดามีจริงก็ขอให้ปรากฏกายออกมาให้พวกเราได้เห็นด้วยเถอะ” 

ทันใดนั้น เทวดาก็ปรากฏกายอยู่ข้างต้นไทรใหญ่ทันที  มีรัศมีกายที่สว่างไสวมาก  เหล่าฤๅษีทั้งหลายถามเทวดานั้นว่า

“ท่านเทวดา ท่านได้ทำบุญกุศลอะไรเอาไว้  ทำไมถึงมาเป็นรุกขเทวดา ที่มีรัศมีกายสว่างไสวท่ามกลางทะเลทรายอย่างนี้เล่า” 

เทวดาเกิดความละอายในกุศลกรรมที่ได้ทำเอาไว้  เพราะเป็นความดีที่เล็กน้อย  จึงไม่กล้าบอก  แต่เมื่อถูกซักถามหนักเข้า  จึงเล่าให้ฟังว่า
 
     ในสมัยพุทธกาล  ท่านเกิดเป็นคนยากจน ต้องหาเช้ากินค่ำ ได้ไปขอรับจ้างทำงานในบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำหน้าที่หาฟืน 

ท่านจะออกไปเก็บฟืนตั้งแต่เช้ามืด แล้วกลับมาอีกทีในเวลาบ่ายทุกวัน 

ต่อมาวันหนึ่ง เป็นวันอุโบสถศีล ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ชักชวนให้ทุกคนในบ้าน สมาทานอุโบสถศีลกันหมด ทุกคนในบ้านก็ตั้งใจรักษาศีลเป็นอย่างดี 

เมื่อชายหนุ่มคนนี้กลับมาถึงบ้าน เห็นแต่สำรับอาหารที่เขาจัดไว้เพื่อตนเท่านั้น  เกิดความสงสัยขึ้นมา แม้ว่าจะหิวมากก็อดไม่ได้ที่จะถามแม่ครัวว่า

“ทำไมวันนี้ไม่มีใครมารับประทานอาหารร่วมกันเล่า  หรือว่าพวกท่านรับประทานเสร็จกันหมดแล้ว”
 
     แม่ครัวจึงได้เล่าให้ชายหนุ่มฟังว่าเป็นธรรมเนียมของบ้านท่านเศรษฐี  ว่าเมื่อถึงวันอุโบสถศีล ทุกคนในบ้านจะรักษาอุโบสถศีลกันหมด  เมื่อชายหนุ่มรู้ว่าทุกคนสมาทานอุโบสถศีลกันหมด เกิดจิตเลื่อมใส อยากจะรักษาศีล ๘ บ้าง จึงถามว่า

“แล้วเราจะรักษาอุโบสถศีลได้ไหม เพราะเราไม่ได้สมาทานตั้งแต่เช้าตรู่” 

คนในบ้านจึงให้ไปถามท่านเศรษฐีว่า

“เขามีศรัทธาอยากจะรักษาศีล ๘ บ้างจะได้ไหม” 

ท่านเศรษฐีก็บอกว่าได้ แต่วันนี้เธอคงจะรักษาได้แค่ครึ่งวัน

เมื่อรู้ว่ารักษาศีลครึ่งวันก็ได้  เขาจึงไม่ทานอาหาร ตั้งใจสมาทานศีล ๘ ให้บริสุทธิ์ที่สุด 

แต่เนื่องจากว่าตัวเองทำงานมาตลอดทั้งวัน  ไม่ได้ทานอาหารเลย ตกกลางคืนลมในท้องเกิดความปั่นป่วน ด้วยความหิวจัด

เป็นเพราะไม่เคยรักษาศีล ๘ มาก่อน จึงเกิดความทุกข์ทรมาน แต่ก็พยายามข่มความเจ็บปวดเอาไว้  แม้ว่าท่านเศรษฐีจะให้ทานยา ให้ดื่มนํ้าหวาน หรือนํ้าปานะที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต เขาก็ไม่ยอมดื่ม  มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ที่สุด
 
     เขาได้กล่าวว่า

“แม้ข้าพเจ้าจะเป็นคนเข็ญใจ แต่ก็จะตั้งใจรักษาศีล ๘ ครึ่งวันนี้ให้บริสุทธิ์ให้ได้  ขอศีลของข้าพเจ้าอย่าได้ด่างพร้อยแม้แต่นิดเดียวเลย”
 
     เขามีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยว  ยังจิตให้เลื่อมใสในศีลที่ตนเองรักษาเอาไว้ดีแล้ว  ตกดึกคืนนั้นเขาก็ได้สิ้นชีวิตลง  ด้วยจิตที่ผ่องใสก่อนสิ้นชีวิตจึงได้ไปเกิดเป็นรุกขเทวดาที่ต้นไทรใหญ่แห่งนั้น  เทวดาเมื่อเล่าเรื่องจบจึงกล่าวว่า

“ชายหนุ่มคนนั้นก็คือข้าพเจ้านี่แหละ สมบัติทั้งหลายที่ได้มานี้ เป็นเพราะข้าพเจ้าอาศัยท่านมหาเศรษฐีผู้เป็นนาย และเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า”
 
     เหล่าฤๅษีทั้ง ๕๐๐ พอฟังคำว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้น ก็เกิดความปีติปราโมทย์ ขนลุกชูชันเหมือนกับได้ยินข่าวอันเป็นมหามงคล  ต่างก็ลุกขึ้นประคองอัญชลีต่อเทวดา เปล่งอุทานขึ้นมาพร้อมกันว่า

“โอ พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ท่านเทวดา นับว่าเป็นบุญลาภอันประเสริฐของเรา ที่ท่านให้เราได้รู้ว่าพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก พวกเราเฝ้ารอคอยบุคคลเช่นนี้มายาวนานประหนึ่งว่ารอคอยมาเป็นแสนปี พวกเราจะไปเฝ้าพระบรมศาสดาในบัดนี้” 

เมื่อกล่าวเสร็จ ก็ได้อำลาเทวดารีบมุ่งหน้าไปวัดพระเชตวัน  เพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ทันที
 
     พระบรมศาสดาทรงทราบว่า ฤๅษีเหล่านี้แม้จะเป็นนักบวชนอกศาสนา แต่ก็เป็นบัณฑิต เป็นนักพรตผู้แสวงหาทางหลุดพ้น  เป็นผู้มีบุญที่ได้สั่งสมมาดีแล้ว  ต่างได้เฝ้ารอคอยและแสวงหา บุคคลผู้ชี้หนทางดับทุกข์ตลอดมา 

บัดนี้ถึงเวลาที่เราจะให้เหล่าฤๅษีได้ดื่มรสพระธรรม เมื่อเหล่าฤๅษีเข้าเฝ้าแล้ว  ได้ฟังพระธรรมเทศนาจากพระพุทธองค์แล้วทั้งหมดก็สามารถทำใจหยุดนิ่ง เข้าถึงกายธรรมอรหันตเป็นพระอรหันต์ในทันที
………………………………………………………………………….
กัลยาณมิตรผู้ชี้ขุมทรัพย์
ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562

..วันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562..

คุณแม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ ถวายภัตตาหารเช้าเพลแก่พระสงฆ์ในทิศทั้งสี่ เจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ เป็นเวลา 10 วัน ณ พุทธมณฑล อำเภอศาลายา จังหวัดนครปฐม
บริเวณสวนเวฬุวัน ศาลามรรค 8 พระสงฆ์จำนวน 501 รูป

: ถวายปัจจัย 280,000 รูปี เป็นภัตตาหารแก่พระสงฆ์สามเณรที่เตรียมตัวสอบพระปริยัติธรรม ณ วัดไทยเชตวันวิหาร นครสาวัตถี แคว้นโกศล ประเทศอินเดีย
มีพระสงฆ์สามเณรจำนวน 40 รูป เป็นเวลา 20 วัน

: พาคณะผู้ปฎิบัติธรรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานเดินจงกลมเจริญภาวนา
ณ วัดเชตวัตมหาวรวิหาร นครสาวัตถี
แคว้นโกศล ประเทศอินเดีย จำนวน44 ท่าน

: ถวายน้ำดื่ม โครงการปฎิบัติธรรมพระนิสิตปริญญาตรี โท เอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ณ พุทธมณฑล บริเวณสวนไผ่ นครปฐม จำนวน 9,600 ขวด

: ถวายน้ำดื่ม ณ สถานปฎิบัติธรรมมหาจุฬาอาศรม หมวกเหล็ก สระบุรี 4,800 ขวด

: ถวายน้ำดื่ม ณ สถานปฎิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 9,600 ขวด

: ถวายน้ำดื่ม ณ สถานปฎิบัติธรรมวัดภัตทันตะอาสภาราม จังหวัดชลบุรี 4,800 ขวด

..กราบอนุโมทนากับพระภิกษุสามเณรและผู้ปฎิบัติธรรมทุกท่าน ที่สร้างกำลังใจสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นในจิตของข้าพเจ้า..

..ความศรัทธาใด..คุณวิเศษใด..ที่เกิดขึ้นในพระสงฆ์..สามเณรแล้ว..ขอคุณวิเศษนั้น..จงส่งผลให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย..มีความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม..เจริญด้วยมนุษย์สมบัติ..มีชีวิตอยู่ในสวรรค์สมบัติ..เข้าถึงพระนิพพานสมบัติเป็นที่สุดเทอญ..

..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..

การแสดงตนในการปฏิบัติธรรม

การแสดงตนในการปฎิบัติธรรม
เริ่มต้นที่รักษาศีล5-8 ต่อเนื่องด้วยการสวดมนต์ เมื่อศีลบริสุทธิการสวดย่อมเกิดคุณของพระรัตนตรัยตามลำดับ

จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะที่สวดมนต์จิตจะจดจ่ออยู่กับบทสวดไม่วอกแวกวุ่นวายไปในที่อื่น จึงมีความสงบเกิดสมาธิมั่นคง สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส เพราะการสวดมนต์จัดว่าเป็นการทำสมาธิขั้นต้นอย่างหยาบๆ เป็นการรวบรวมจิตที่ฟุ้งซ่านต่างๆ ให้สงบระงับในเบื้องต้น

เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย บทสวดมนต์แต่ละบทเป็นการกล่าวถึงคุณของพระพุทธเจ้า กล่าวถึงพระธรรมที่เป็นคำสั่งสอน เป็นการบอกว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร จะปฏิบัติอย่างไร

สติมาปัญญาเกิด ถ้าสวดพร้อมกับคำแปลก็จะเกิดสติปัญญาเข้าใจในคำสอนของพระพุทธเจ้า รู้เห็นตามความเป็นจริง สามารถดับทุกข์ได้ตามกำลังสติปัญญาของแต่ละคน นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาเป็นการมอบความรักความปรารถนาดีให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธให้เบาบางลงไป พบแต่ความสุขสงบ

คลายความเครียด ในขณะสวดมนต์จิตจะจดจ่อกับบทสวด สมองจะปลอดโปร่ง ไม่คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

เพิ่มพูนบุญบารมี ขณะที่สวดมนต์จิตใจจะสะอาด ปราศจากกิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงเป็นบ่อเกิดแห่งบุญบารมี เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่ต้องการได้

ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะที่สวดมนต์ต้องใช้ความอดทนอย่างสูงเพื่อเอาชนะความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ฝ่ายต่ำที่จะเข้ามากระทบจิตใจทำให้เกิดความเกียจคร้าน ดังนั้น ยิ่งสวดบ่อยๆ ความอดทนก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น

พิชิตใจผู้คนให้รักใคร่ การสวดมนต์เป็นประจำจะทำให้ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้ที่เป็นมิตรอยู่แล้วก็รักใคร่กลมเกลียวกันมากยิ่งขึ้น แม้คนที่เคยเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันก็จะหันกลับมาคืนดีในที่สุด

ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย การสวดมนต์เป็นประจำ จะทำให้รอดพ้นจากภัยอันตราย ในยามโชคร้ายประสบเคราะห์กรรมอันจะมีมาถึงตัว เพราะจะทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา

มนต์บางบทพระพุทธเจ้าเคยใช้เมื่อตอนบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ ใช้สวดเพื่อคุ้มครองป้องกันตนเองและพวกพ้องบริวารให้รอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง

ครอบครัวเป็นสุขสดใส การสวดมนต์เป็นการสร้างความสุข และเกิดความสามัคคีในครอบครัว

เป็นการรักษาไว้ซึ่งคำสอนของพระพุทธเจ้า

หลังจากที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ไม่นาน

พระมหากัสสปะได้เป็นประธานในการรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าให้เป็นหมวดหมู่และไม่ให้เกิดการสูญหาย

สมัยนั้นยังไม่มีการจารึกคำสอนเป็นลายลักษณ์อักษร ยังใช้การท่องจำที่เรียกว่า “มุขะปาฐะ”

เมื่อพระสงฆ์รวบรวมคำสอนเป็นหมวดหมู่แล้ว ก็ให้พระสงฆ์ท่องจำเข้าไว้ จึงเกิดเป็นการสวดมนต์

บทสวดมนต์เหล่านั้นก็คือคำสอนของพระพุทธเจ้า

บทที่เราควรสวดคือ “ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร” เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นพระธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์แสดงเป็นครั้งแรก ที่เรียกว่า “ปฐมเทศนา”พระธรรมที่ทำให้ตรัสรู้

ถวายเสียงเป็นพุทธบูชามีอานิสงส์นับไม่ได้

พระธรรมของพระพุทธองค์อัศจรรย์
“ปัตจัตตัง”เป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน

ชีวิตที่แช่อยู่ในกิเลสตลอดเวลา
เมื่อเริ่มลงมือปฎิบัติ
กิเลสทั้งหลายจะไหลเข้ามาในความคิด
ทำให้เกิดความละอายเกรงกลัวต่อบาป

หากกำลังสวดมีจิตเป็นอกุศลก็สวดให้เสียงดังขึ้น
อย่าละสายตาจากตัวหนังสือ

ค่อยเป็นค่อยไปทำให้สม่ำเสมอ
เหมือนผึ้งสร้างรัง
ศีลคือรังผึ้ง..น้ำผึ้งคือผลของการสวดมนต์

ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

วันจันทร์ที่16ธันวาคม2562

วันจันทร์ที่16ธันวาคม2562

ถวายภัตตาหารเช้าเพลน้ำปานะแก่พระนิสิตสาขาวิชาสังคมศาสตรปริญญาตรี โท
เอก ณ.พุทธมณฑล อ.ศาลายา จ.นครปฐม
บริเวณสวนไผ่ ศาลามรรค8

อนุโมทนากับทุกท่านที่ร่วมบุญใหญ่ในครั้งนี้หากว่างท่านสามารถมาร่วมถวายภัตตาหารได้ทุกวัน13-24ธันวาคม2562
พระสงฆ์501รูปเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน
ตามแนวสติปัฎฐานสี่
ประจำปี2562เป็นเวลา10วัน

ขออาราธนาคุณพระศรีรัตน์ตรัยจงส่งผลให้ทุกท่านจงเจริญด้วย
อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฎิพาน ธนสารสมบัติเทอญ

ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ

ความไม่โกรธ

ความไม่โกรธ

ในอดีตกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีทรัพย์สมบัติ ๘๐ โกฏิ ชื่อว่า "กุณฑลกุมาร" ท่านศึกษาเล่าเรียนจนแตกฉานในศิลปะทุกอย่าง พอบิดามารดาละโลกไปแล้ว 

ท่านก็ได้ พิจารณาดูกองมรดก จึงเห็นว่า สมบัติที่พ่อแม่และ หมู่ญาติหามาได้ ก็ใช้ได้เฉพาะในภพชาตินี้เท่านั้น ไม่มีใครนำติดตัวไปในปรโลกได้เลย

ท่าน จึงตัดสินใจเปิดคลังสมบัติทั้งหมดบริจาคมหาทานตลอด ๗ วัน จากนั้นก็เข้าป่าหิมพานต์ เพื่อไปบวชเป็นฤๅษี พอบวชแล้วได้ชื่อใหม่ว่า “ขันติวาทีดาบส” บำเพ็ญตบะอยู่ตามลำพัง

วันหนึ่งท่านออกจากป่าเข้าไปเที่ยวภิกขาจารในกรุงพาราณสี เสนาบดีท่านหนึ่งเห็นกิริยาอาการของท่านแล้ว บังเกิดความเลื่อมใส จึงน้อมถวาย ภัตตาหารด้วยความเคารพ และถือโอกาสอาราธนา ท่านให้พักอยู่ในพระราชอุทยาน

อยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้ากลาปุทรงดื่มน้ำจัณฑ์จนมึนเมาในพระราชอุทยาน แล้วทรงบรรทมบนตักของสนมคนโปรด นางหนึ่ง ส่วนพวกหญิงนักฟ้อนคนอื่น ๆ ก็พากันขับร้องให้พระองค์บันเทิงสำราญพระทัย

พอพระเจ้ากลาปุบรรทมหลับไป พวกหญิงนักฟ้อนก็ชวนกันไปเดินเล่นในสวน เผอิญได้พบฤาษีโพธิสัตว์ จึงชักชวนกันไปฟังธรรม ในขณะที่พวกนางกำลังฟังธรรมอยู่นั้น

พระราชาก็ทรงตื่นบรรทม เพราะนางสนมคนโปรดที่ทรงหนุนตักขยับตัว เมื่อทรงตื่นแล้วไม่เห็นนางสนมเหล่านั้น ก็ทรงพิโรธมาก

ทรงถือพระขรรค์เสด็จไปหาพระดาบสด้วยความโกรธ หมายจะตัดหัว เมื่อไปถึงก็ตรัสถามว่า
ท่านดาบส ท่านมีปกติสรรเสริญคุณธรรมอะไร พระดาบสทูลว่า มหาบพิตร อาตมาเป็นขันติวาทะ กล่าวยกย่องขันติธรรม พระราชาตรัสถามต่อว่า ที่ชื่อว่าขันตินั้นคืออะไร

     พระดาบสตอบว่า
“ขันติก็คือความไม่โกรธ ไม่ผูกพยาบาท แม้มีใครมาประทุษร้ายก็รักษาจิตให้สงบ ไม่หวั่นไหวต่อสิ่งที่มากระทบ”

พระราชาได้ฟังดังนั้น จึงตรัสว่า ประเดี๋ยวเถอะ เราจะได้เห็นขันติของท่าน แล้วรับสั่งให้เรียกเพชฌฆาตมาเพชฌฆาตเดินถือขวาน แซ่หนาม และสวมพวงมาลัยแดง

เมื่อมาถึง พระราชาตรัสรับสั่งว่า เจ้าจงจับดาบสนี้ให้นอนคว่ำลงกับพื้น แล้วเอาแซ่หนาม เฆี่ยนตามตัว ๒,๐๐๐ ครั้ง เพชฌฆาตก็ทำตามรับสั่ง

พระดาบสมิได้คิดประทุษร้ายต่อเพชฌฆาตเลย เพราะท่านหวังจะเพิ่มขันติบารมี เนื้อหนังของพระโพธิสัตว์ ขาดแหว่งไปทั่ว โลหิตไหลเนืองนอง เจ็บปวดทรมาน แสนสาหัส แต่ท่านก็ไม่ปริปากโอดครวญ

     พระราชาตรัสถามซํ้าอีกว่า ท่านดาบส ท่านยังยกย่องอะไรอีก พระโพธิสัตว์ก็ทูลยืนยันตามเดิมว่า มหาบพิตร อาตมายกย่องขันติธรรม ขันติไม่ได้อยู่ที่ผิวหนังหรอก ขันติของอาตมาอยู่ภายในใจ แม้พระองค์ก็ไม่อาจแลเห็นได้

พระราชาทรงกริ้วมาก จึงรับสั่งให้เพชฌฆาตตัดมือทั้งสองข้างของดาบส เพชฌฆาตก็ใช้ขวานตัดมือทั้งสองข้าง จากนั้นก็ตัดที่ข้อเท้าทั้งสอง

โลหิตสด ๆ ไหลออกจากปลาย ข้อมือและข้อเท้าเหมือนสายน้ำที่รั่วไหลออกจากท่อ พระราชาตรัสถามอีกว่า

“ขันติท่านอยู่ตรงไหน”

พระโพธิสัตว์ก็ยังทูลเหมือนเดิมว่า

“ขันติอยู่ที่ใจ แต่ พระองค์สำคัญว่าขันติมีอยู่ที่ปลายมือปลายเท้าของอาตมา ขันติไม่ได้อยู่ตรงนี้ เพราะขันติของอาตมาตั้งอยู่ภายในใจ ที่ลึกซึ้งเกินกว่าพระองค์จะเข้าพระทัยได้”

     จากนั้นพระราชาตรัสสั่งให้เพชฌฆาตตัดหูและจมูกพระโพธิสัตว์ ทำให้ทั่วทั้งร่างกายมีแต่โลหิต ไหลเจิ่งนองไม่หยุด แม้จะได้รับทุกข์ทรมานปางตาย แต่พระดาบสก็ไม่ยอมโต้ตอบ เพราะปรารถนาจะเพิ่มพูนขันติบารมี

ฝ่ายพระราชาเมื่อไม่สาแก่พระทัย จึงตรัสประชดประชันว่า ท่านผู้เดียวจงยกย่องเชิดชู ขันติธรรมต่อไปเถอะ แล้วเอาพระบาทกระทืบยอดอกพระดาบส แล้วเสด็จจากไปอย่างไม่ไยดี

     เมื่อพระราชาเสด็จไปแล้ว ท่านเสนาบดีเกรงว่า พระดาบสผู้มีฤทธานุภาพจะโกรธ และอาจบันดาลให้เมืองทั้งเมืองพังพินาศไปได้ จึงรีบเข้ามาเช็ดเลือด และประคองร่างของพระโพธิสัตว์

เก็บรวบรวมอวัยวะ ต่าง ๆ แล้วขอให้ท่านได้อดโทษต่อพระราชาและ ทุก ๆ คน พระโพธิสัตว์ผู้มีมหากรุณาอยู่แล้วจึงบอกว่า

“พระราชาพระองค์ใดรับสั่งให้ตัดมือ เท้า หู และจมูกของเรา ขอพระองค์จงทรงพระชนม์ยั่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญยิ่ง ๆ ขึ้นไป อาตมภาพ ไม่มีความโกรธเคืองในพระราชาแม้เพียงเล็กน้อย ขอพระองค์ทรงพระเจริญเถิด”

     ฝ่ายพระราชาเมื่อเสด็จไปลับตาพระโพธิสัตว์เท่านั้น มหาปฐพีซึ่งหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ ก็ไม่สามารถจะรองรับกรรมหนักของพระราชาได้ จึงแยกตัวออก เปลวไฟจากอเวจีมหานรกก็แลบออกมา เผาไหม้พระองค์

และทรงถูกธรณีสูบลงไปเสวยวิบากกรรมในอเวจีมหานรกทันที

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสียชีวิตในวันนั้นเอง
…………………………………………………………………………

ขันติของท่านในครั้งนั้นเป็น
“ขันติปรมัตถบารมี”
เพราะแม้ถูกเบียดเบียนถึงชีวิตก็อดทนไม่โกรธตอบ

     เราจะเห็นว่า กว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าเพื่อนำตนและสรรพสัตว์ไปสู่ฝั่งนิพพาน ต้องอาศัยขันติธรรมเป็นอย่างมาก

คำว่า ขันติ ต้องเป็นความ อดทนด้วยจิตที่เป็นกุศลเท่านั้น เช่น แม้ถูกเบียดเบียน ก็ไม่โกรธ ไม่ทำร้ายตอบ แต่รักษาใจเป็นปกติ ไม่ขุ่นเคือง และมีเมตตา

….ส่วนการนิ่งเงียบ ไม่โต้ตอบ แต่ภายในใจแค้นเคืองลุกเป็นไฟเพื่อรอตอบโต้ภายหลัง …อย่างนี้ไม่จัดเป็นขันติ เพราะถือว่าจิตยังเจือด้วยอกุศล

..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..