อ่านหนังสือวันละหน้า หน้าที่48 —พระมหาชนก ตอนที่2—

อ่านหนังสือวันละหน้า หน้าที่48

พระมหาชนก ตอนที่2

พวกเด็กก็จะร้องไห้วิ่งไป ฟ้องพ่อแม่ว่า ถูกไอ้ลูกหม้ายตีเอา เวลาเล่นกัน แล้วมีเรื่องทะเลาะ เบาะแว้งกันบ้าง ตามประสาเด็ก ๆ ก็เรียก พระองค์ว่า

“ ไอ้ลูกหญิง หม้าย ”

พระมหาชนกราชกุมารทรงนึกสงสัยว่า ทำไมเด็กพวกนั้นจึง เรียกเราว่า ลูกหญิงหม้ายบ่อย ๆ วันหนึ่งจึงทูลถามพระมารดาถึง เรื่องนี้ว่า
“ พระมาดาครับ ! ใครคือพระบิดาของลูกหรือ ”
พระมารดาตรัสลวงพระกุมารว่า

“ ท่านพราหมณ์นั่นไง ”

วันต่อ ๆ มาเมื่อถูกพวกเด็ก ๆ เรียกว่าลูกหญิงหม้าย พระกุมา รก็บอกเพื่อน เด็ก ๆ ว่า เรามีพ่อเหมือนกันนะ ท่านพราหมณ์นั่นไง เป็นพ่อของเรา พวกเด็ก ๆ เถียงว่านั่นไม่ใช่พ่อของเจ้าสักหน่อย เจ้าไม่ใช่คนมีพ่อ

“ แม่ไม่เล่าความจริงกับเราเรื่องพ่อ ไม่เป็นไร เดี๋ยวเราจะทำให้แม่ยอกความจริงให้จงได้ ”

ทรงคิดดังนั้นแล้วก็เข้าไปคลอเคลียพระมารดา แล้วร้องขอทูล ขอเสวยเกษียรธารา (น้ำนม) พอพระมารดาเปิดพระถันให้ พระกุ มารก็กัดถันไว้แน่น พร้อมกับค่อย ๆ เผยพระโอษฐ์ทูลให้พระมา รดาตรัสบอก

ความจริงเรื่องบิดาให้ทราบโดยทันที ทั้งขู่ว่า ถ้าหาก พระมารดาไม่ยอมบอกก็จะกัดหัวพระถันจนขาดกระเด็น
พระมารดาทรงเห็นว่าคงไม่อาจจะปกปิดความจริงไว้ต่อไปมิได้ อีกแล้ว จึงตรัสบอกว่า

“ลูกเป็นโอรสของพระเจ้าอริฏฐมหาชนก ในกรุงมิถิลามหา นคร พระบิดาของลูกถูกพระโปลชนก ผู้เป็นเจ้าอายกทัพมาชิราช สมบัติ จับพระบิดาของเจ้าฆ่าเสีย แม่มาอยู่ในเมืองนี้ก็เพราะตั้ง ใจจะรักษาเจ้าซึ่งอยู่ในท้องให้อยู่รอดปลอดภัย แล้วได้ท่านพรา หมณ์ผู้ใจดีรับแม่ไว้เป็นน้องสาว ช่วยดูแลแม่กับเจ้าให้อยู่ดีมีสุขมา จนถึงบัดนี้ ”

พระกุมารได้รับทราบความจริงอย่างนั้นก็รู้สึกพอพระทัย และ นับแต่นั้นมา เมื่อถูกพวกเด็ก ๆ เรียกว่าไอ้ลูกแม่หม้าย ก็ไม่ทรงรู้สึก กริ้ว เพราะรู้ความจริงเสียแล้ว ใครจะว่าอย่างไรก็ไม่สะเทือน

ถ้าพระกุมารจะทำการใหญ่ในวันข้างหน้า พระกุมารก็ต้องเข้า รับการศึกษา

1) ศึกษาไตรเพทและศิลปะศาสตร์
เมือพระกุมารทรงเจริญวัยขึ้น ก็ทรงเข้ารับการศึกษาเหมือน เช่นเด็กอื่น ๆ การศึกษาที่สำคัญ คือ การเรียนไตรเพทและ ศิลปะศาสตร์

ไตรเพท แปลว่า พระเวท ๓ อย่าง เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ของศาสนาพราหมณ์ ได้แก่

๑. ฤคเวท ประมวลบทสวดสรรเสริญเทพเจ้า

๒. ยชุรเวท ประกอบด้วยบทสะกดอันตรายในพิธีบูชายัญต่างๆ

๓. สามเวทประมวลเพลงขับสำหรับสวดหรือร้องไห้เป็น ทำนองในพิธีบูชายัญ

ศิลปะศาสตร์ แปลว่า ตำราว่าด้วยวิชาความรู้ต่าง สูติ ความรู้ทั่วไป
สมมติ ความรู้กฎธรรมเนียม สังขยา คำนวณ
โยคยันตร์ การช่างการยนต์ นิติ นิติศาสตร์
วิเสสิกา ความรู้การอันให้เกิดมงคล คันธัพพา วิชาร้องรำ
คณิกา วิชาบริหารร่างกาย ธนพเพธา วิชายิงธนู
๑๔. มายา ตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา การประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด
๑๗. มันตา วิชามนต์

๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์ พระกุมารทรงเรียนไตรเพทและศิลปะศาสตร์ทั้งปวงสำเร็จ
ขณะมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา

พระมารดาทรงเห็นความจำเป็นของการศึกษา จึงทรงส่งพระ กุมารให้ได้รับการศึกษาจนสำเร็จใสชั้นสูงสุดและครบถ้วนทุกอย่าง

ที่กุลบุตรสมัยนั้นจะพึงศึกษาเล่าเรียนกัน ภายหลังจบการศึกษาแล้ว พระกุมารทรงคิดเป็น ทำเป็น คิดถูก ทำถูก และเริ่มเป็นผู้ใหญ่ ทั้ง ๆ ที่มีพระชนมายุเพียง ๑๖ พรรษาเท่านั้น

ขณะมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระมหาชนกราชกุมารทรงมี พระรูปโฉมงาม สมบูรณ์ สมส่วนไม่ทรงสนพระทัยในการเที่ยวเตร่ เฮฮา แต่มีพระดำริจะไปชิงเอาราชสมบัติของพระบิดาคืนมาให้ได้
วันหนึ่งเข้าไปทูลถามพระมารดาว่า

“ พระมารดา ! เมื่อตอนที่พระมารดาเสด็จหนีภัยมา พระมาร ดามีทรัพย์สมบัติอะไรติดมือมาบ้างหรือไม่ ลูกอยากจะนำไปลงทุ นทำการค้า การขาย พอได้ทรัพย์สมบัติมามากพอแล้ว ลูกจะไปชิง เอาราชสมบัติของพระบิดาคืนมา ”

พระมารดาตรัสตอบว่า

“ ลูกรัก เมื่อแม่ออกมา แม่ไม่ได้มามือเปล่าหรอกนะ แม่มีของ สำคัญติดตัวมา ๓ อย่าง คือ แก้วมณี แก้วมุกดา และแก้ววิเชียร แก้วทั้ง ๓ อย่างนี้ ในสามอย่างนี้ แต่ละอย่างก็มีราคามากโขอยู่ พอจะจ่ายเอาทรัพย์มาเป็นกำลังในการชิงราชสมบัติไม่ได้หรอก ลูกอย่าไปคิดทำการค้าขายเลย ”

พระราชกุมารทรงเห็นว่าแบบนั้นมันง่ายไป พระองค์เองควรจะ ได้ลงมือทำการบางอย่างจนประสบผลสำเร็จ อันเป็นการสร้างสม ประสบการณ์ให้แก่ตนเองไว้บ้าง ก่อนที่จะทำการใหญ่ชิงราชสมบัติ จึงทูลอ้อนวอนพระมารดาว่า

“ พระมารดา ! หม่อมฉันจะขอเพียงครึ่งหนึ่ง จะเอาไปลงทุน ทำการค้าที่เมืองสุวรรณภูมิ ครั้นรวบรวมทรัพย์ได้มากพอสมควร แล้ว ก็จะนำมาเป็นทุนรอนในการชิงราชสมบัติของพระชนกคืนมา ”

พระมารดาเห็นว่าพระโอรสทรงต้องการอย่างนั้น จึงประทาน ดวงแก้วให้ไปครึ่งหนึ่ง พระมหาชนกราชกุมารับดวงแก้วจากพระ มารดามาแล้วก็นำไปซื้อสินค้าให้ขนขึ้นเรือร่วมกับพ่อค้าพาณิชย์ คนอื่น ๆ จะเดินทางไปสุวรรณภูมิ เมื่อขนสินค้าเสร็จแล้วก็ไปเข้าเฝ้า พระมารดาเพื่อทูลลา

พระมารดาทรงรู้สึกเป็นห่วงขึ้นมาจึงตรัสห้ามไม่ให้ โดยให้ เหตุผล การเดินทางในทะเลน่ากลัวนัก มีอันตรายมาก ได้จะไม่คุ้ม เสีย บางทีมีแต่เสียโดยไม่ได้อะไรเลย

อย่าไปเลยนะลูก แก้ว ๓ อย่างที่เรามีอยู่นี้ก็สามารถจะใช้ชิงเอาราชสมบัติได้อย่างสบาย แต่พระกุมารได้ตั้งพระทัยแน่แน่วแล้วจะลองทำการค้าหาเงินด้วย ตนเอง

ได้เงินพอแล้วจะได้จ้างคนมาเป็นกำลังและซื้อหาอาวุธมาใช้ เพื่อชิงราชสมบัติคืน ถ้าขืนเอาทรัพย์ของพระมารดามาใช้เพื่อการ ชิงราชสมบัติเสียหมด ก็จะเป็นการสุ่มเสี่ยงเกินไป จึงตัดสินพระ ทัยทูลลาพระมารดาไป

ทั้ง ๆ ที่พระนางยังไม่อนุญาต พระกุมารทร งดินกระทำประทักษิณ (เดินเวียนขวาอันเป็นการแสดงความเคารพ) แล้วก็เสด็จไปลงเรือออกทะเลไปพร้อมด้วยพ่อค้าเรือคนอื่น ๆ อีก ประมาณ ๗๐๐ คน

ในวันที่พระกุมารออกเรือนั้น พระเจ้าโปลชนกทรงประชวรหนัก จนถึงกับไม่อาจเสด็จลุกขึ้นได้เลย

ความเด็ดเดี่ยวเอาจริง
เป็นสิ่งควรสร้างให้เกิดขึ้น หลวงพ่อปัญญานันทะนำเรื่องราว
ของ มหาตมา คานธี มาเล่าให้ฟัง เป็นตัวอย่าง

จากเรื่องของพระราชกุมารมหาชนกที่ตัดสินพระทัยล่องเรือออก ทะเลไปทำการค้า ได้แสดงจุดยืนของคนใจเด็ดไม่คิดย่อท้อต่ออุป สรรค แม้พระมารดาทัดทานไม่ให้ไปด้วยความเป็นห่วงแสดงภัย ในทะเลให้เห็น

แต่พระองค์ก็ยังยืนยันความตั้งใจเดิม ไม่ยอมให้ ความกลัวมามีอำนาจเหนือความตั้งใจ

ความเป็นห่วงของพระมารดานั่นแสดงถึงน้ำใจของคนเป็นแม่ แต่ความเด็ดเดี่ยวก็แสดงถึงคุณสมบัติของลูกผู้ชาย ความเด็ดเดี่ยว คือ ความมุ่งมั่นทำอย่างแน่วแน่ไม่ย่อท้อ

ในทางพุทธศาสนาจัด เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่ง เรียกว่า อธิษฐาน หรืออธิษฐานธรรม
อธิษฐานธรรมมีอยู่ ๔ ข้อ

( ปัญญา , สัจจะ , จาคะ , อุปสมะ )

กรณีของพระมหาชนกจัดเป็นสัจจะเรียกว่า สัจจาธิษฐาน เมื่อตั้ง ใจจะลงทุนทำการค้าเพื่อหาทรัพย์มาใช้จ่ายในการชิงราชสมบัติคืน ก็จะต้องทำให้ได้

ในที่สุดพระกุมารได้ออกทะเลสมพระทัยส่วน หนทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไรนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ในที่นี้อยาก จะแสดงให้เห็นว่า ความใจเด็ด ความเด็ดเดี่ยวนั้นเป็นคุณสมบัติ สำคัญที่จะทำให้บุคคลประสบความสำเร็จได้

เมื่อแล่นเรือไปได้สักประมาณ ๗๐๐ โยชน์ ล่วงเวลาไปได้ ๗ วัน ก็พบพายุร้ายพัดโหมกระหน่ำ จนเรือไม่อาจทรงตัวอยู่ได้ แผ่น กระดานเรือก็แตก น้ำไหลทะลักเข้าท้องเรือ

ตามช่องที่แตกได้โดย ง่าย พวกพ่อค้าไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้เลย อยู่ในภาวะจำยอม กันหมดทุกคน ยอมปล่อยให้น้ำเข้าเรืออยู่อย่างนี้ ทุกคนในเรือกลัว ต่อมรณภัย

พวกที่หมดหวังในชีวิตแล้วก็เอาแต่ร้องไห้คร่ำครวญหวนให้ จนน้ำตาแทบจะเป็นสายเลือด โดยไม่คิดทำอย่างอื่นเลย พวกที่ยัง พอมีหวังยังไม่รู้สึกอยากตายก ก็พากันบนบานศาลกล่าวอ้อนวอน

ขอร้องเทวดาให้ความช่วยเหลือ แต่พระมหาชนกไม่ทรงรู้สึกตกพระ ทัยอะไรนัก ทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยปัญญา มีสติรู้ตัวอยู่ เสมอ

รู้เท่าทันสถานการณ์เป็นอย่างดี จึงไม่ทรงกันแสง ไม่ทรงร้อง ไห้คร่ำครวญ ไม่กราบไหว้อ้อนวอนเทวดาอย่างคนอื่น

เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าเรือกำลังจะจม จึงทรงคลุกเคล้า น้ำตาลกรวดกับเนยใส่เสวยจนอิ่ม แล้วเอาผ้าเนื้อเกลี้ยงมา ๒ ผืน

ชุบน้ำมันให้เปียกชุ่ม ทรงนุ่งผืนหนึ่ง คาดบั้นเอวผืนหนึ่ง ประทับยืนเกาะเสากระโดง เวลาที่เรือจมน้ำแล้วก็ทรงปีนป่ายขึ้นบน เสากระโดง ทรงมองไปรอบ ๆ ทรงกำหนดทิศทางของเมืองมิถิลา

แล้วก็กระโดดจากเสาตกลงไปในทะเล ไกลจากเรือ ทำให้พ้น อันตรายจากพวกปลาร้าย ปลากินคน

ในขณะที่พ่อค้าคนอื่น ๆ ต่างพากันจมน้ำตายบ้าง ถูกปลากัด ตายบ้าง แต่ละคนล้วนตกตายอยู่กลางทะเล น้ำในบริเวณนั้นมอ งดูแล้วน่ากลัวมาก เพราะมีแต่สีแดงฉานเต็มไปหมด

เมื่อลงไปในทะเลแล้ว พระมหาชนกก็ไม่รอช้า ทรงรีบว่าย น้ำตามคลื่นไปทันที การว่ายน้ำตามคลื่น ทำให้พระองค์ไม่ต้องทร งออกแรงมาก เพราะคลื่นช่วยพัดพาไปให้ ทำให้เกิดความหวังว่า คงจะรอดตายและคงจะถึงฝั่งในไม่ช้านี้

ในที่พระมหาชนกประสบอุบัติเหตุเรือแตกอยู่กลางทะเลนี้ ที่ เมืองมิถิลานคร ก็มีเหตุร้ายเกิดขึ้นเหมือนกัน คือ พวกเจ้าโปลชนก เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคาพยาธิ ทั่วทั้งเมืองจึงมีแต่ความหม่น หมอง

เมื่อแผ่นดินว่างกษัตริย์ ประชาชนก็อ่างว้างไม่อุ่นใจ พระ มหาชนกทรงว่ายน้ำเรื่อยไปไม่หยุดหย่อน ทรงตั้งพระทัยไม่ยอม จมอยู่ในทะเล พระองค์ทรงว่ายอยู่อย่างนั้น

กาลเวลาผ่านไปได้ ๗ วัน ก็ทรงกำหนดรู้ว่าวันนี้เป็นวันอุโบสถถึงเวลาที่จะต้องสมาทา นอุโบสถศีลแล้ว จึงทรงบ้วนพระโอษฐ์ด้วยน้ำเค็ม สงบพระทัยตั้ง

จิตสมาทานอุโบสถศีล

อุโบสถศีล คือ ศีลที่รักษาในวันอุโบสถ ได้แก่ ศีล ๘ ที่อุบา สิกาสมาทานรักษา เป็นการรักษาศีลในวันพระ คือ ขึ้นและแรม ๘ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ในเดือนขาดก็จะเป็นแรม ๑๔ ค่ำ ศีล ๘ ข้อนั้นได้แก่

1. เว้นจากการทำลายชีวิต
2. เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้
3. เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
4. เว้นจากการพูดเท็จ
5. เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
6. เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล

7. เว้นจาการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี การดูเล่นอัน เป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ซึ่งใสช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง

8. เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย
จะเห็นว่า แม้พระมหาชนกจะลำบากอย่างไรก็ยังไม่ละทิ้งศีล

ขณะรอคอยว่ายน้ำเอาชีวิตอยู่ใน ทะเลพระองค์ยังมีจิตตั้งมั่นสมาทานอุโบสถศีล ( ไม่ใช่แค่เพียงศีล5)

ในสมัยนั้น ท้าวโลกบาลทั้งสี่หรือจตุโลกบาล
( หัวหน้าเทว ดาชั้นจาตุมหาราช มี ๔ องค์ คือ ท้าว ธตรัฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรู ปักษ์ และท้าวกุเวร มีหน้าที่รักษาโลกทั้ง ๔ ทิศ )

ได้มอบหมายให้ เทพธิดามณีเมขลาคอยช่วยเหลือมนุษย์ผู้มีศีลธรรมคุณธรรมที่อาจ มาประสบภัยอยู่ในทะเล

เทพธิดามณีเมขลาเสวยทิพยสมบัติในสวรรค์เพลิดเพลินไป หน่อย จนลืมตรวจตราความทุกข์ความเดือนร้อนของคนดีทั้งหลาย แต่ในวันที่ ๗

นางนึกได้ว่าละเลยหน้าที่ไปหลายวัน จึงได้รีบตรวจ ตราดูว่ามีเหตุอะไรบ้างหนอเกิดขึ้น เมื่อตรวจตราไปมาอยู่ นางก็ พบว่า

พระกุมารมหาชนกกำลังว่ายน้ำหนีตายอยู่ในทะเล คิดว่าจะ ต้องหาทางช่วยเหลือ จึงเหาะขึ้นไปกลางอากาศเข้าไปใกล้ ๆ พระ มหาชนก นางคิดทดลองน้ำใจ พระมหาชนกว่า จะเป็นเช่นไร จึง ถามถึงเหตุผลในการว่ายน้ำข้ามเข้าหาฝั่ง

“ ใครหนอ มองไม่เห็นฝั่งก็ยังอุตส่าห์พยายามว่ายน้ำอยู่กลาง ทะเล ท่านมองเห็นประโยชน์อะไรหรือ จึงพยายามว่ายอยู่อย่างนี้ ”

เมื่อได้ยินเสียงมีใครถามมาอย่างนั้น พระมหาชนกทรงดำริว่า หราว่ายน้ำข้ามทะเลมาได้ ๗ วัน เช้าวันนี้ยังไม่เคยมีใครมาเจรจา กับเราเลย นี่ใครกำลังพูดกับเราหนอ เมื่อแหงนขึ้นไปบนอากาศ ก็ทอดพระเนตรเห็นนางมณีเมขลา จึงตอบว่า

“ เทพธิดา ! เราไตร่ตรองเห็นธรรมเนียมแห่งโลกและผลของค วามเพียร ฉะนั้น ถึงจะมองไม่เห็นฝั่งเราก็ต้องพยายามว่ายต่อไป ”

มณีเมขลาได้ฟังคำของพระมหาชนกแล้วก็รู้สึกเข้าทีดี คำพูด น่าฟัง ก็ปรารถนาจะฟัง คติธรรมคำสอนของพระมหาชนกจึงกล่าว

“ ฝั่งทะเลลึกล้นพ้นประมาณไม่ปรากฏแก่ท่าน ถึงจะพยายาม สักเท่าไร ไม่ทันถึงฝั่งก็จักตายเสียก่อน ”

อ่านพระมหาชนกต่อพรุ่งนี้นะคะ

แม่ชี ทศพร วชิระบำเพ็ญ