อ่านหนังสือวันละหน้า หน้าที่ 47—พระเตมีย์ตอนที่ 1—

พระเตมีย์ตอนที่ 1

อ่านหนังสือวันละหน้า หน้าที่ 47

พระเตมีย์ บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี (การออกบวช)
ครั้งเมื่อพระศาสดาเสด็จประทับ ณ เชตวันมหาวิหารนั้น บรรดาพระ ภิกษุทั้งหลายที่มาประชุมสนทนาธรรมได้พากันกราบทูลอาราธนา ให้ พระพุทธองค์ทรงนำอดีตนิทานมาโปรดเป็นพระธรรมเทศนา

พระองค์จึงทรง ตรัสเล่าถึงเมื่อปางก่อนที่ทรงเสวยพระชาติเป็น พระเตมีย์กุมาร อันมีเรื่องราว เป็นมาดังนี้

เมื่อสมัยอดีตกาล มีกษัตริย์แห่งเมืองพาราณสี ทรงพระนามว่า “กาสิ กราช” ทรงครองราชย์ด้วยทศพิธราชธรรมนานมา แต่พระองค์มิได้สุขสบาย พระทัยเลย เพราะไร้ราชโอรส สืบราชสมบัติ ด้วยว่าเกรงจะสูญสิ้นราชวงศ์ ทั้ง ๆ ที่ทรงมีพระสนมถึงร่วม ๒ หมื่นคน

กระทั่งเหล่าไพรฟ้าประชาราษฎร์ก็ต่างพากันประหวั่นพรั่นใจว่า ภาย หน้าหากพระราชาไร้พระโอรสขึ้นเสวยราชสมบัติครองเมืองสืบต่อไปแล้ว แผ่นดินคงจะวุ่นวายไร้หลักไร้มิ่งขวัญเป็นแน่แท้

พระนางจันทรเทวี ผู้เป็นอัครมเหสีจึงทรงทำพิธีขอพระโอรสจากสรวง สวรรค์ โดยในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ทรงสมาทานอุโบสถศีลตามปรกติแล้ว ก็ตั้ง สัตย์อธิษฐานของพระราชโอรส จากแรงศีลแรงบุญที่พระนางได้เพียรปฏิบัติ มา

ด้วยอำนาจอัศจรรย์แห่งแรงอธิษฐานกอปรกับผลบุญแห่งศีลภาวนานั้น เอง ที่เป็นเหตุให้อาสน์ของพระอินทร์บนสรวงสวรรค์เกิดร้อนรุ่มจนองค์อินทร์ มิอาจเสวยสุขตามปกติได้

พระอินทร์จึงทรงเพ่งดูจนทราบได้ด้วยทิพยเนตร พระองค์จึงทรงขอให้เทพบุตรผู้มากบุญญาธิการองค์หนึ่งซึ่งกำลังจะจุติใน สวรรค์ชั้นสูงต่อไป ให้ทรงเสด็จลงมาจุติในพระครรภ์ของพระนางจันทเทวี

เทพบุตรพระองค์นั้นก็ปรารถนาจะบำเพ็ญบารมีอยู่แล้วจึงทรงตกลงเสด็จจา กดาวดึงส์มาจุติในมนุษย์โลก

เมื่อครบกำหนด ๑๐ เดือนล่วงไป พระนางจันทรเทวีก็ประสูติพระกุมารผู้ มีผิวพรรณผุดผ่องงดงามดั่งทองคำ และในวันนั้นก็มีนิมิตอัศจรรย์คือ มี การกำเนิดบุตรอีก ๕๐๐ คน พร้อมกัน

ซึ่งพระราชาได้ทรงพระราชทานขอ งกำนัลพร้อมแม่นมให้บุตรของอำมาตย์ในพระราชวังด้วย และในวันนั้นทั่ว ทั้งพระนครเกิดฝนโปรยปรายชุ่มฉ่ำเป็นที่น่าอัศจรรย์นัก

พระกุมารได้พระนามว่า “เตมีย์” อันหมายถึง เหตุแห่งความปรีดาแก่ ผู้คนทั้งปวง และพระกุมารก็เป็นที่รักใคร่เอ็นดูของพระราชานัก ถึงกับคัด

เลือก ๖๔ แม่นมผู้ถวายน้ำนม โดยมีคุณสมบัติพิเศษ ๑๐ ประการตามตำรา ดังนี้คือ

๑ ไม่ให้นางนั้นมีผิวขาวจัดเกินไปนัก ด้วยเกรงว่าน้ำนมจะมีรสเปรี้ยว เกินไป

๒ ไม่ให้นางนั้นมีผิวดำคล้ำนักด้วยว่าจะมีน้ำนมที่เย็นจัดเกินไป

๓ ให้มีรูปร่างสมสัดส่วนดีไม่ผอมแห้งบอบบางจนกระดูกจะทิ่มตำพระ กุมารได้

๔ ให้มีรูปร่างไม่อ้วนเจ้าเนื้อเกินไป เพราะจะพลอยทำให้พระกุมารอ้ วนตามไปด้วย

๕ ไม่ให้มีรูปร่างสู่งเกินไปนัก เพราะพระกุมารจะสูงจนคอยาวไปด้วย

๖ ไม่ให้มีรูปร่างเตี้ยต่ำนัก เพราะจะทำให้พระกุมารคอหดและเตี้ยต่ำ ไปด้วย

๗ ให้คัดสรรแต่นางที่มีน้ำนมรสหวานกลมกล่อมสมบูรณ์ที่สุดเท่านั้น

๘ ให้คัดสรรแม่นมที่มีเต้านมเปล่งปลั่งไม่หย่อนยาน เพื่อจะได้มีน้ำนม บริบูรณ์

๙ ไม่ให้นางนั้นมีโรคหืดหอบ อันจะส่งผลให้น้ำนมไม่พิสุทธิ์สมบูรณ์

๑๐ ไม่ให้นางนั้นป่วยเป็นโรคไอเรื้อรัง เพราะราชกุมารจะพลอยขี้โรค ไปด้วย และน้ำนมจะออกรสเผ็ดเกินไป

พระเจ้ากาสิกราช ได้จัดให้การสมโภชและพระราชทานนางนมให้แก่ พระราชกุมาร พระทัยของพระองค์และราษฏร์ได้รับความแช่มชื่น เรื่องความ กลัวว่าราชวงค์จะสูญสียก็เป็นอันหมดไป

พระเจ้ากาสิกราชทรงโปรดปราน พระราชกุมารมาก บางครั้งถึงกับอุ้มออกไปทรงว่าราชการด้วย….

วันหนึ่งขณะที่พระราชบิดาอุ้มออกไปทรงว่าราชการอยู่นั้น อำมาตย์ได้ นำโจรมาให้ ทรงวินิฉัย ๔ คนด้วยกัน พระราชาทรงสั่งให้ลงอาญาโจรเห ล่านั้น

คนที่ ๑ ให้เฆี่ยนด้วยหนามหวาย

คนที่ ๒ ให้เอาหอกแทงทรมานให้เจ็บปวดแสนสาหัส

คนที่ ๓ ให้เอาหลาวเสียบไว้ทั้งเป็น

คนที่ ๔ ให้คุมขังไว้

พระราชกุมารได้ทรงเห็นเช่นนั้น ก็ระลึกถึงอดีตชาติที่ไปอยู่นรกเพราะ

เคยสั่งลงโทษโจร ก็คิดว่าพระราชบิดาของเราทำดังนี้น่ากลัวเหลือเกิน ตายไปตกนรกแน่นอน เราเองถ้าใหญ่ขึ้นมาก็ต้องครอบครองแผ่นดิน ก็ต้อง

ทำอย่างพระราชบิดาแน่นอน ทำอย่างไรจึงจะพ้นไปจากการต้องเป็นพระเจ้า แผ่นดินได้ เทพธิดาผู้เคยเป็นมารดาของพระราชกุมารในครั้งก่อนสิงอยู่ที่ เศวตฉัตร..ได้แนะนำพระราชกุมารให้ปฏิปัติ ๓ ประการคือ

๑ . จงเป็นคนง่อย

๒. จงเป็นคนหูหนวก

๓. จงเป็นใบ้

แล้วจะพ้นสิ่งเหล่านี้
นับตั้งแต่นั้นมา พระเตมีย์กุมารก็เริ่มปฏิบัติไม่พูดไม่จาอะไรทั้งนั้น

ใครมาพูดก็ทำเป็นไม่ใด้ยิน เอาอุ้มไปวางไว้ที่ไหนก็นั้งอยู่อย่างนั้น ไม่ขยับ เขยื้อนไปในที่ใด พระราชบิดาทรงสงสัยว่าแต่ก่อนพระราชกุมารก็เหมือน เด็กทั่วไปรื่นเริงโลดเต้น..

เจรจาเสียงแจ้วอยู่ตลอดเวลาทำไมกลับมาเงียบ ขรึมไม่พุดไม่จา ใครจะพูดอะไรก็ไม่ได้ยิน คงจะเกิดโรคภัยชนิดใดขึ้นแน่ จึงให้หมอตรวจ ก็มิได้พบว่าพระราชกุมารเป็นอะไร

คงเป็นปกติทุกอย่าง ก็ทรงให้ทดลองหลายอย่างหลายประการ เป็นตัน ว่าให้อยู่ในที่สกปรก พระเตมีย์อดทนอยู่ได้ แม้จะหิวก็ไม่ทรงกันแสงแม้จะ กลัวก็ไม่แสดงอาการอย่างไร เพราะเห็นว่าภัยในนรกร้ายแรงกว่าที่เป็นอยู่ ในปัจจุบัน..จึงคงเฉย ๆ

ทำเอาพระราชบิดาสิ้นปัญญา
พวกอำมาตย์รับอาสาว่าจะทดลองดูก่อน ก็ทรงอนุญาติให้..ครั้งแรก เมื่อให้พระเตมีย์นั่งอยู่ในเรือนแล้วแกล้งจุดไฟเพื่อจะให้พระเตมีย์กลัว..แต่ หาได้ทำให้พระเตมีย์หวาดกลัวไม่คงเป็นปกติอยู่

ทดลองอย่างนี้ตั้งปี ก็ไม่พบความผิดปกติอย่างไร ต่อไปก็ทดลองด้วย ช้างตกมัน โดยนำพระราชกุมารไปประทับนั่งที่พระลาน..ให้มีเด็กห้อมล้ อมหมู่มาก..

แล้วให้ปล่อยช้างที่ฝึกแล้วเชือกหนึ่ง วิ่งตรงเข้าไปจะเหยียบพระ ราชกุมาร เด็กที่ห้อมล้อมอยู่หวาดกลัวร้องไห้พากันวิ่งหนีกระจัดกระจายไป แต่พระเตมีย์ก็คงทำเป็นไม่รู้ชี้เช่นเดิม

ทดลองอย่างนี้สิ้นเวลาตั้งปีก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรขึ้นมา พระกุมาร เคยเงียบไม่กระดุกกระดิกอย่างไรก็คงอย่างนั้นแม้ช้างจะจับพระกายขึ้นเพื่อ จะฟาดก็ไม่ตกใจกลัวเพราะมุ่งหวังอย่างเดียวจะให้พ้นจากการเป็นพระเจ้า แผ่นดิน

ต่อไปก็ทดลองด้วยงู ให้พระเตมีย์นั่งอยู่ แล้วให้ปล่อยงูมารัด ธรรมดาเด็กย่อมจะกลัวงู อย่าว่าแต่เด็กเลยผู้ใหญ่ก็เถอะ…แต่ก็ไม่ทำให้พระ เตมีย์หวาดกลัวไปได้ คงนั่งเฉยทำเหมือนรูปปั้นเสีย เล่นเอาอำมาตย์เจ้า ปัญญาสั่นหัว

ทดลองอย่างนี้อีกเป็นปีก็ไม่อาจจะจับพิรุธพระกุมารได้ ต่อไปให้ทดลอง ด้วยการให้พระเตมีย์นี่งอยู่ แล้วให้คนถือดาบวี่งมาจะทำอันตราย แต่พระกุ มารทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้

หูไม่ได้ยิน ปากก็ไม่มีเสียง กายไม่กระดิกกระเดี้ย ทดลองอย่างนี้อีกเป็นปีก็จับอะไรพระกุมารไม่ได้.. ต่อไปก็ทดลองเสียง โดย ให้พระเตมีย์นั่งอยู่พระองค์เดียว

แล้วจู่ ๆ เสียงอึกทึกครึกโครมก็ดังขึ้นมาแต่ พระเตมีย์คงทำไม่ได้ยินเช่นเคย การทดลองของอำมาตย์เป็นระยะทั้งสิ้น ๗ ปี

หลายปีที่ทำมาก็ไม่สามารถทำให้พระเตมีย์พูดออกมาได้ตั้งแต่ ๙ ขวบ จนกระทั่ง ๑๖ ขวบ พระเตมีย์ก็คงทำเช่นนั้น

เมื่อวัยแรกรุ่นย่อมจะชอบใจในกามารมณ์ จึงจัดให้ให้สาวน้อย ๆ มา เล้าโลมประการใด ๆ กอดรัดบ้าง ลูบโน่นบ้างลูบนี่บ้าง จนกระทั่งเปิดโน่น ให้ดูบ้าง เปิดนี่ให้ดูบ้าง จะทำอย่างไรพระเตมีย์ก็คงทำเฉยไม่รู้ไม่ชี้ทองไม่รู้ ร้อนตลอดกาล….

ใครจะพูดอย่างไร จะทำอย่างไรพระเตมีย์ไม่ได้ยินทั้งนั้น ไม่ยอมเคลื่อน ไหวไม่ร้องไห้เหมือนเด็ก ๆ ไม่อ้าปากส่งเสียงอะไรออกมา ผลที่สุดทั้งพระราช บิดาและอำมาตย์ลงความเห็นว่าพระกุมารคงเป็นคนกาลกิณีเสียแล้ว..

ขืนให้ อยู่ต่อไปคงจะเกิดอันตรายขึ้นแก่พระองค์แก่สมบัติและแก่พระอัครมเหสี ควรจะออกไปทิ้งเสียที่ป่าช้าผีดิบนอกเมือง พระราชาก็เห็นด้วย จึงดำริจะให้ เอาไปทิ้งเสีย

แต่พระเทวีอัครมเหสีมาเฝ้ากราบทูลว่า
“ขอเดชะ..พระองค์ได้พระราชทานพรไว้แก่ข้าพระองค์บัดนี้หม่อมฉัน จะทูลขอพรที่ได้ให้ไว้นั้น…”

“พระเทวีเธอขออะไรก็ตรัสไปถ้าไม่หลือวิสัยแล้วจะให้” “ข้าพระองค์ขอราชสมบัติให้พระเตมีย์” “อะไรกันพระเทวีก็เจ้าเตมีย์เป็นคนใบ้ แล้วก็หูหนวกเคลื่อนไหวร่า
งกายไม่ได้ จะเป็นพระเจ้าแผ่นดินได้อย่างไร”

“ก็พระเตมีย์เป็นอย่างนั้น หม่อมฉันจึงขอพระราชสมบัติ” “ไม่ได้พระเทวีเลือกอย่างอื่นเถิด” “หม่อมฉันขอเลือกให้พระเตมีย์ครองแผ่นดินแม้ไม่มากเพียง ๗ ปีก็
พอ”

“ไม่ได้พระเทวีจะเป็นความเดือดร้อนแก่คนอื่นมากมายนัก ลูกเราไม่
มีความสามารถถ้าดีอยู่อย่าว่าแต่ ๗ ปีเลย ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะให้สมบัติ ตลอดไป”
“ขอสัก ๑ ปีก็แล้วกัน” “ไม่ได้พระเทวี”

“ถ้าอย่างนั้นขอ ๗ วัน หม่อมฉันขอให้พระเตมีย์ได้เป็นสักหน่อยเถิด” พระเจ้ากาสิกราชก็ยอมตกลง จึงได้ให้ตกแต่งร่างกายของพระเตมีย์

ในเครื่องกษัตริย์ แล้วให้เสด็จเลียบพระนครประกาศให้ประชาชนพลเมืองทั่ว ไปทราบว่า บัดนี้พระเตมีย์ได้เป็นกษัตริย์แม้ใคร ๆ จะทำอย่างไรพระเตมีย์ยัง คงเฉย ร่างกายไม่เคลื่อนไหวเป็นเหมือนหุ่น

เขาวางไว้ตรงไหนก็อยู่ตรงนั้น ไม่พูดไม่จาอะไรทั้งสิ้น ใครจะทำอะไรก็ไม่ได้อยู่ในความสนใจของพระกุมาร ทั้งสิ้น พอครบ ๗ วัน

พระนางจันทรเทวีก็ทรงพระกันแสงเพราะครบกำหนดที่สัญญาไว้กับพระ ราชาแล้ว พระราชาจึงมอบพระเตมีย์กุมารให้กับนายสุนันทะสารถีเอาใส่รถ ไปฝังเสียที่ป่าช้าดิบ

ภายนอกเมือง นายสุนันทะก็เอาพระเตมีย์ใส่ท้ายรถขับ ออกจากตัวเมืองไปยังป่าช้าผีดิบ แต่หารู้ไม่ว่าทางที่จะไปนั้นม้นไม่ใช่ป่าช้า ผีดิบแต่เป็นป่าอีกหนึ่งต่างหาก..

ความผิดพลาดของนายสารถี นับตั้งแต่เริ่มเทียมรถม้าแล้วคือ แทนที่ จะเอารถสำหรับใส่ศพ กลับเอารถมงคลมาเทียมแทนและเมื่อรับพระเตมีย์ แล้วก็คิดว่าจะขับไปป่าช้าผีดิบซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกจึงเป็นอันว่านายสา รถีผิดพลาดตลอดมา.. แต่การผิดพลาดนี้เป็นผลดีของพระเตมีย์

เมื่อถึงป่านอกเมือง ซึ่งนายสุนันทะคิดว่าเป็นป่าช้าผีดิบ เขาก็หยุ ดรถหยิบจอบเสียมลงไปเพื่อจะขุดหลุมฝังพระกุมารเสีย หูของเขายังแว่วพระ ดำรัสของพระราชาที่ว่า

“ลูกข้าคนนี้ เป็นกาลกิณีเองจงเอาไปป่าช้าแล้วขุดหลุมสี่เหลียมให้ลึก แล้วเอาจอบทุบหัวมันเสียก่อนแล้วค่อยฝังมันทีหลัง ช่วยมันหน่อยนะอย่าให้ ฝังมันต้องถูกฝังทั้งเป็นเลย”

ในขณะที่นายสารถีกำลังขุดหลุมอยู่ไมไกลจากรถนี้นเอง พระเตมีย์ก็คิด ว่าร่างกายของเราไมได้เคลื่อนไหวมาตั้ง ๑๖ ปี จะเป็นอย่างไรบ้างก็ไม่รู้ ก็ ทรงกายลุกขึ้นลงมาจากรถทดลองเดินไปมาอยู่ข้างรถ

“ไม่เป็นอะไร มือเท้าไม่ได้เป็นง่อยเปลี้ยเสียแต่อย่างใด แต่กำลังเล่า จะเป็นไฉน”

คิดแล้วก็จับเอางอนรถยกขึ้น..เป็นความมหัศจรรย์…พระเตมีย์ยกรถขึ้น กวัดแกว่งได้เหมือนยกเอารถตุ๊กตาเบาแสนเบาแล้วกลับวางอย่างเดิม

แล เห็นนายสารถีก้มหน้าก้มตาขุดหลุมอยู่โดยไม่ทราบว่าพระองค์ได้ทำอย่าง ไรบ้าง จึงเดินเข้าไปยืนอยู่ใกล้ก็ไม่รู้แต่ก็ตกใจเมื่อได้ยินเสียง
“สารถีท่านขุดหลุมสี่เหลียมทำไมกัน”

เขาเหลียวหน้ามามองแต่ก็จำไม่ได้ว่าเป็นพระกุมารที่ตนนำมาคิดเสียว่าเป็น คนเดินทางผ่านมาเห็นตนกำลังขุดหลุมอยู่ก็แวะเจ้ามาสอบถามดู

“ขุดหลุมฝังคน” เขาตอบสั้น “ฝังใครกันล่ะ?”
“ฝังลูกพระเจ้าแผ่นดิน”
“ฝังทำไมกันล่ะ?”
“เรื่องมันยืดยาวท่านอยากจะรู้ไปทำไม”
“ก็อยากจะรู้บ้างว่าคน ๆ นั้นเป็นลูกพระเจ้าแผ่นดินจะมาถูกฝังเพราะ
โทษอะไร” นายสารถีก็ชี้แจงว่า

“ไม่มีโทษอะไรหรอก แต่พระราชกุมารเป็นคนกาลกิณีขืนปล่อยไว้นาน
ไปความอุบาทว์ ทั้งหลายก็จะเกิดแก่ราชสมบัติ ”

พระเตมีย์จึงแสร้งตรัสถาม ต่อไปว่า
“คนกาลกิณีน่ะเป็นอย่างไร”

“ก็เป็นคนไม่ดีน่ะสิ” นายสารถีเริ่มฉุน
“ไม่ดีอย่างไร” “เอ..ท่านนี่ควรจะไปเป็นศาลตุลาการ..แทนที่จะเป็นคนเดินทางเพราะแก่ชักเสียจริง”

พระกุมารก็ไม่ขุ่นเคือง คงมีพระดำรัสเรียบ ๆ ถามต่อไป “ข้าพเจ้าอยากรู้จริง ๆ ก็เลยรบกวนท่านหน่อย” “เอ๊า…อย่างนั้นคอยฟัง..คือว่าพระโอรสของเจ้านายข้าพเจ้าคนนี้ เกิด

มามีลักษณะสวยงามน่าเอ็นดูอยู่หรอก แต่เสียอย่างเดียวภายหลังมาเกิดไม่ พูดไม่จาแขนขาไม่ยกไม่ก้าว เสียเฉย ๆ ยังงั้นเเหละใครจะพูดอะไร หูก็แถม หนวกเสียด้วยเลยเป็นอันว่าเหมือนตุ๊กตาตัวโต ๆ ที่เขาตั้งไว้”

..แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..