..โลกุตระทรัพย์..โลกุตระธรรม..
..สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเทศนาจากเรื่องที่ทำได้ง่าย ลำดับไปจนถึงเรื่องที่ยากสำหรับปุถุชน แต่เมื่อปุถุชนฟังแล้วก็เกิดดวงตาเห็นธรรม..
..พากันให้ทาน..รักษาศีล..จนถึงสละทรัพย์สมบัติออกบวช..โดยไม่ใยดีโลกีย์ทรัพย์..
..การออกบวชรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์ สำรวม..กายวาจาใจ..เป็นผู้เห็นภัยในโลกีย์..
..เห็นทุกข์ที่เกิดจากกามตัณหา..
..เข้าใจทุกข์..เปลี่ยนเส้นทางเดินจากคฤหัสเป็นบรรพชิต..
..เจริญตามรอยพระศาสดาจนสำเร็จเป็นพระอริยบุคลมากมายมหาศาล..เรียกว่า “ผู้เดินเข้าสู่โลกุตรธรรม พ้นวิสัยของโลก”..
..ไม่ต้องมาเวียนว่าย..ตายเกิด..สลับเป็นสัตว์เดรัจฉานเป็นคน..ที่ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฎ..
..เพราะชีวิตถูกย้อมด้วยกาม..พอใจ..ถูกใจ..อยากได้..อยากมี..อยากเป็น..ไม่อยากมี..ไม่อยากเป็น..
..ทุกข์..เพราะใช้ชีวิตแบบโลกีย์วิสัยถึงเวลาก็ตาย..แล้วเกิด..ซ้ำไปซ้ำมา..ไม่อยู่ในฐานะที่จะพ้นวิสัยโลกได้..
..เพราะผลของวิบากกรรมจึงทำให้ตกอยู่จมอยู่ไม่พ้นไป..
..พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพิกถาจนมนุษย์และเทวดาบรรลุธรรมเป็นล้านล้านคน..
“อนุปุพพิกถา” หมายถึง เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังธรรมชั้นสูง คือ อริยสัจ มี ๕ ประการ คือ
๑. “ทานกถา” กล่าวคือ “ทาน”
หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการให้ทานและอานิสงส์ของการให้ทาน ว่าเป็นเหตุให้ได้รับความสุข เพราะผู้รู้จักให้เป็นที่รักใคร่ของคนหมู่มาก เป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง เป็นหลักประกันของชีวิตในเวลาจะสิ้นใจเป็นต้น
๒. “สีลกถา” กล่าวคือ “ศีล”
หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการรักษาศีลและอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้มีศีล ย่อมไม่ประสบความเดือดร้อนเนื้อร้อนใจจากที่ไหนๆ
เพราะมีศีลเป็นเหมือนอาภรณ์อย่างประเสริฐ เป็นหลักประกันในการได้สมบัติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นต้น
๓. “สัคคกถา” กล่าวคือ “สวรรค์”
หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องสวรรค์ว่า เป็นที่อันเพรียบพร้อมด้วยกามสุขอันเป็นทิพย์มีแต่สิ่งที่น่ารื่นเริงบันเทิงเริงใจ เป็นผลที่ได้รับจากการให้ทาน รักษาศีล เป้นต้น
๔. “กามาทีนวกถา” กล่าวถึง “โทษแห่งกาม”
หมายถึง การพรรณนาโทษเรื่องของกามว่า แม้จะเป็นความสุข แต่ก็มีความทุกข์เจือปน ไม่มีความจีรังยังยืน มีโทษมากแต่คุณน้อย เพราะเป็นเหตุให้เวียนวายอยู่ในสังสารวัฏ เป็นต้น
๕. “เนกขัมมานิสังสกถา” กล่าวถึง”อานิสงส์แห่งการออกจากกาม”
หมายถึง การพรรณนาถึงการออกจากกามและอานิสงส์ว่าเป็นความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน
เพื่อให้เกิดความพอใจที่จะคิดค้นหาวิธีการทำใจไม่ให้หมกมุ่นในกามนั้น
วิธีการออกจากกามให้ได้ผลดีก็คือ การออกบวชบำเพ็ญเพียรเป็นเนื้อนาบุญของโลก
..เมื่อทรัพย์สินที่หามาได้สามารถเปลี่ยนเป็นทรัพย์ภายใน..
..ผู้คนสมัยพุทธกาลจึงอุปฐากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์องค์อรหันต์ผู้บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส..
..ทำให้ทรัพย์ไม่สูญเปล่า..
..ทรัพย์กลายเป็นต้นกล้าปลูกลงในนาบุญที่เหนือโลก..
..บุญที่อุปฐากพระรัตนตรัย..
..สะท้อนกลับมาเป็นอริยทรัพย์..
..ทรัพย์อันประเสริฐ..ที่เมื่อมีอยู่ในใจจะเป็นคนประเสริฐอย่างแท้จริง..
..มี ๗ ประการ คือ..
..ศรัทธา..
..ศีล..
..หิริ..
..โอตตัปปะ..
..พาหุสัจจะ..
..จาคะ..
..ปัญญา..
..เจริญธรรมคะ..
..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..