อ่านหนังสือวันละหน้าปี2020 :โกรธ

อ่านหนังสือวันละหน้าปี2020
10นาทีชีวิตเปลี่ยน

โกรธ

กรรมที่ทำแล้วแก้ไขอะไรไม่ได้
ก็ไม่ควรทำเพิ่ม
พยายามรักษาอารมณ์ให้เป็นปรกติ
สอบสวนตัวตนที่เป็นทุกข์
ว่า…เราสาดอารมณ์ใส่คนรอบข้าง
เพื่อระบายความทุกข์ออกมาแบบน้ัน
เราไม่ควรทำ

เหวี่ยงที่ไม่ได้อย่างใจ
มีปัญหาที่ทำงาน
งานเก่ายังไม่หมด
งานใหม่มาเพิ่ม ส่งงานผิดพลาดล่าช้า
ขั้นไม่เลื่อน เงินเดือนไม่ขึ้น
เริ่มอ่อนแอ มีความอิจฉา

อิจฉาความอยู่ดีมีสุขของคนรอบตัว

ทำให้เกิดความเหน็ดเหนื่อย
พาลเกิดเป็นความเห็นแก่ตัว
แบบไม่มีสาเหตุ

ดูต้นเหตุของอารมณ์นี้

จบการศึกษาแบบลอกเพื่อน
ใช้เงินพ่อแม่เรียนแบบไม่อั้น
มีอคติกับครูบาอาจารย์

แรงกรรมเหวี่ยงอารมณ์ให้โกรธ
ย่อยออกมาเป็นทิฐิมานะ
ถือตัวถือตนยึดมั่นถือมั่นไม่ปล่อย

ไม่มีใครทำอะไรให้เดือดร้อนเลย
คิดเองจบเอง ไม่สมหวังอับอาย
พื้นฐานของความโกรธมาจากกรรม
ไม่ได้อย่างใจนิสัยซับแต่ความโกรธ
นานไปกลายเป็นคนไร้เหตุผล

กรรมอยู่ในตัวตนไม่ใช่ความบังเอิญ
ลอกเพื่อนเรียน ทำให้ด้อยความสามารถ
ขั้นไม่เลื่อนเงินเดือนไม่ขึ้นจากการใช้เงิน
พ่อแม่เรียนแบบไม่เห็นใจอยากใช้อะไร
ก็ใช้ ทำให้ชักหน้าไม่ถึงหลัง

การอคติกับครูบาอาจารย์ไม่ชอบเป็นการส่วนตัว ทำให้วางเฉยในการเรียนรู้จากอาจารย์ พอมาทำงานก็ไม่มีใครยอมรับ
ทำอย่างไรก็ไม่เคลีย

ต้องฝึกสติ..
เรียนรู้เพื่อให้สติมีกำลังอยู่เหนืออารมณ์
ทำได้เมื่อไหร่ กรรมก็จะเบาบาง
โกรธก็รู้ทัน ไม่โกรธตอบ
………………………..
ให้ไม่ขาด

คนอยากทำบุญซื้อหม้อสำหรับต้มแกงมาถวายที่วัด
ทุกครั้งที่มาวัดก็จะเดินมาถามทุกครั้งว่า
ได้ใช้หม้อของเขาบ้างมั้ย
เราตอบไปว่าใช้ค่ะ แต่ไม่ได้ใช้ทุกวัน

อ้าวทำไมไม่ใช้ทุกวัน ต้องใช้ให้ผมทุกวัน

เขาเดินตามหาหม้อเบอร์ห้าสิบของเขา
สักพักเสียงเอะอะดังขึ้น ได้ความว่า
ไม่รู้ใคร ขี้ใส่หม้อของเขา
เขาเอาไปล้างหลายรอบ แล้วยกมาส่งให้

มองหม้อใบนี้ด้วยความรู้สึกเป็นทุกข์
จะทำไงดี..ก็เลยเอาไปใส่น้ำเพื่อ
ล้างถ้วยชาม เห็นทุกครั้งก็เป็นทุกข์

วันหนึ่งใช้หม้อใบนี้ต้มผักกาศดองกับกระดูกหมูครั้งแรกที่หม้อได้ใช้ทำอาหาร

หากเรายึดติดว่าหม้อสกปรกที่ใส่ขี้
ตัวเราคงสกปรกกว่ามากมายนัก
ที่มองหม้อว่าสกปรก หม้อล้างไปหลายครั้ง
แต่ใจยังล้างไม่ออก

เวลาหล่อองค์พระปฎิมา คนที่มีความศรัทธาถวายทุกอย่าง กระโถน จะปิ้งที่ปิดอวัยวะเด็กหญิง เข็มขัด และอะไรๆอีกมากมาย หลอมรวมกันเป็นพระพุทธรูป
เรายังต้องกราบ

สอบสวนตนเองทุกวัน ผ่านบ้างพลาดบ้าง
แต่ก็ค่อยๆถอนอัตตาตัวตนด้วยเรื่อง
ให้ไม่ขาด ถวายไม่ขาด ของคนอื่น ทำให้
มองทุกอย่างอย่างเข้าใจ กฎของไตรลักษณ์

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ยึดมั่นถือมั่นเมื่อไหร่
จะไม่เห็นกฎข้อนี้
ทำให้ใจข้องอยู่กับความไม่งามไม่เหมาะสม
ละเอียดอ่อนมากพระธรรมของพระศาสดา

เรื่องนี้สอนอะไร สอนว่าเขาให้ไม่ขาดก็เรื่องของเขา
กำลังใจของคนไม่เท่ากัน หากเราเอาเรื่องที่เขาให้ไม่ขาด
มาคิด เท่ากับเรารับเรื่องของเขามาเป็นภาระทางใจ
ที่เราเห็นแล้วเป็นทุกข์ นี่ละเราพลาดรับเข้ามาแล้ว

สิ่งใดสกปรกสิ่งนั้นควรชำระให้สะอาดได้
ไม่มีสิ่งใดสกปรกเท่าจิตใจของมนุษย์เช่นเรา
เท่าที่สอบสวนตน
จิตของเรามักดิ่งลงสู่ความเห็นผิดเสมอ

ข้อสอบที่หลายครั้งเคยจิตตกสอบไม่ผ่าน
….ให้ไม่ขาด…..

ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ