วิบากกรรม
จิตคนเรามีความว่างเปล่า..เหมือนแก้ว
ใส ..รูปร่างเปรียบเหมือน..แก้วใส่น้ำ
แต่ด้วยวิบาก..ทำให้ถูกอารมณ์ของ..
กิเลส..โกรธ..กาม..ลุ่มหลง..ไหลลงใน
แก้วใสใบนี้..ทำให้แก้วใสใบนี้ขุ่นมัวเมื่อสิ่งที่
เรียกว่า..วิบากเกิดขึ้น..ตัณหาจึงตามมา..แก้วใสใบนี้
..หากยังไม่มีใครเท.กิเลสออก..ถูกเติมอยู่ตลอด..ทำให้ความดิ้นรนเกิดขึ้น…ซ้ำๆ…จากแก้วเปล่า..ถูกน้ำร้อนเทลงไปก็ร้อน..จากร้อนเอาน้ำแข็งเทลงไปอีก..ไม่นานแก้วก็แตก..จึงเป็นที่มาของการปฎิบัติธรรม..ตามดู..ตามกำหนดให้ทัน..ปวด..เจ็บ..ได้ยิน..กำหนดจนไม่มีช่องว่าง
ให้อะไร..ไหลลงไปในแก้วอีก..อย่างเร็วเจ็ดวัน
..ทุกอย่างที่เราใส่
ลงไปจะค่อยๆ..มอดเหมือนถ่านหมดเชื้อ..อย่างช้าเจ็ดเดือน..นานอีกนิดก็
เจ็ดปี..สงบ..เข้าสู่กระแสธรรม..เมื่อรู้
เท่าทันก็ไม่ตกเป็นทาสของ..กิเลสคือ
…………อารมณ์ต่างๆ…
ความหมายคำว่า”วิบาก”
แปลว่า”กรรม” เช่นคำพูด..ความคิด..การกระทำ..ในลักษณะนี้เรียกว่า….อกุศลกรรม..ในฝ่ายมืด..ตรงกันข้ามกับกุศลกรรม..ที่อยู่ในฝ่ายสว่าง…….กุศลไหลลงในแก้วใส..จิตใจ..ดวงตา ผิวพรรณผุดผ่อง…บุญทำกรรมแต่ง..
ให้จิตเยือกเย็นใครเห็นก็ปิติ..
การปฎิบัติธรรมเหมือน..การออกแบบ
ของวิศวกร..มีเราเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง..ทุกอย่างที่ออกแบบไว้..จะติดตามไปเกิดกับเราอีกในชาติหน้า..
ชาติหน้าคืออะไร?ไม่มีใครรู้..แต่ที่เคย พบเห็นคนที่ตายแล้ว..ไม่มีใครได้อะไรติดมือไปเลย ซักคนเดียว
ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ
บ้านเพชรบำเพ็ญ
15 มค2559