วันนี้..วันอัฏฐมีบูชา

วันนี้..วันอัฏฐมีบูชา คือ วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน)
ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย)

นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสวรรคต (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้วย

“วันอัฎฐมีบูชา”

วันอัฐฐมีบูชา คือ การบูชาในวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6) ส่วน​ปีที่​เป็น​อธิก​มาส​จะเป็​นแรม​ 8​ ค่ำ​เดือน​ ​7 เป็นวันถวายพระเพลิงสรีระหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน 8​ วัน​ พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ กรุงกุสินารา​ ในประเทศ​อินเดีย​

พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันวิสาขบูชา ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ในสาลวโนทยาน (อุทยานสวนป่าสาละ) ของมัลลกษัตริย์แห่งกรุงกุสินารา ความรู้​สึกสูญเสีย​โศกเศร้าครั้งยิ่ง​ใหญ่​ได้​เกิดขึ้นในพุทธศาสนิกชนที่เป็นปุถุชน ส่วนพระอรหันตขีณาสพก็เกิดธรรมสังเวช

มัลลกษัตริย์ได้ปฏิบัติต่อพระพุทธสรีระเหมือนอย่างที่ปฏิบัติต่อพระบรมศพ​ ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ก่อนปรินิพพาน คือ “ใช้ผ้าใหม่ห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิ เสร็จแล้วจึงห่อด้วยสำลีบริสุทธิ์ แล้วจึงห่อด้วยผ้าใหม่อีกชั้นหนึ่ง ทำโดยวิธีนี้จนห่อพระบรมศพของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าและสำลีได้ 1,000 ชั้น แล้วเชิญพระบรมศพลงในรางเหล็กเติมด้วยน้ำมัน ใช้รางเหล็กอีกอันหนึ่งครอบ แล้วทำจิตกาธานด้วยไม้หอมล้วน แล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าจักรพรรดิ สร้างพระสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิ ไว้ที่ทางใหญ่สี่แพร่ง”

1. ในวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ได้มีเหตุการณ์อัศจรรย์เกิดขึ้น คือ เมื่อพระเพลิงไหม้ พระพุทธสรีระโดย​มิได้​มี​การจุดไฟ​ รวมทั้ง​ไม่ปรากฏเถ้าและเขม่าเลย คงเหลือแต่พระบรมสารีริกธาตุ

2. เกิดการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ หลังจากมัลลกษัตริย์ได้จัดการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้ว มีกษัตริย์และพราหมณ์จาก 7 แคว้น ได้ส่งทูตและกองทัพมาเพื่อขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ณ กรุงกุสินารา ก็ได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน บรรดาทูตานุทูตก็อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุกลับไปเมืองของตน การแบ่งพระบรมสารีริกธาตุได้เสร็จสิ้นแล้ว มัลลกษัตริย์แห่งกรุงกุสินาราจึงมอบพระอังคาร (เถ้าถ่าน) ไห้ไปและนำไปสร้างพระสถูปบรรจุไว้สักการะที่เมืองของตน

3. เป็นมูลเหตุให้เกิดการทำปฐมสังคายนา การทำสังคายนา จัดทำขึ้นหลังจากพระพุทธปรินิพพานได้ 3 เดือน สาเหตุเนื่องมาจากพระภิกษุชื่อสุภัททะ ผู้เป็นศิษย์ของพระมหากัสสปะ กล่าวดูหมิ่นพระธรรมวินัย พระมหากัสสปะเกรงว่าพระธรรมวินัยจะเสื่อมสูญ จึงเรียกประชุมสงฆ์อรหันต์ 500 รูป ร่วมกันทำสังคายนา พระมหากัสสปะเป็นประธานซักถามพระธรรมวินัย พระอานนท์ เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย ในการนี้พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์กระทำอยู่ 7 เดือน จึงสำเร็จ

3.สิ่งที่พุทธ​ศาสนิกชน​พึงปฏิบัติในวัน​อัฏฐ​มี​บูชา​
1. ทำบุญ​ตักบาตร, ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร,​ ถวาย​สังฆทาน, ถวาย​จตุปัจจัย​ไทยธรรม​ เป็น​ต้น​
2. รักษาศีล สำรวมกายและวาจาด้วยการรักษาศีล 5​ หรือศีล 8​
3. ฟังพระธรรม​เทศนา, สวดมนต์​เพื่อ​สรรเสริญพระพุทธ​องค์​และเจริญ​สมาธิ​ภาวนา
4. เวียนประ​ทักษิณ​หรือเวียนเทียนรอบพระเจดีย์​หรืออุโบสถเป็นการบูชาพระรัตนตรัยถวาย​เป็น​พุทธบูชา​
5.​ ทำความ​สะอาดกวาดลาน​วัดวาอาราม,​ ลานวิหารและ​พระเจดีย์​
6.​ ปล่อย​สัตว์​ปล่อย​ปลา​ให้ชีวิต​สัตว์​เป็น​ทาน
ทุกๆ​ กิจกรรม​ในโอกาสนี้​ สาธุ​ชนทุก​ท่าน​ควรแต่งกายด้วยชุดสีขาวเพื่อ​แสดงความสำรวม, สะอาดและสุภาพเรียบร้อย​เพื่อเหมาะสม​กับการบูชาพระสัมมาสัมพุทธ​เจ้า​

🔰ที่มา​:
1.พุทธ​ประวัติ
2.บทความ​”วัน​อัฏฐ​มี​บูชา” จากเวบไซ​ต์​https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=19517
3.บทความ​ “วันอัฎฐมีบูชา” จาก​กระทรวง​วัฒนธรรม