..ปัตจัตตัง..ธรรมทาน..-:หน้าที่ 1:-

..ปัตจัตตัง..ธรรมทาน..

-:หน้าที่ 1:-
..ตามรอยธุตังคะ..

จดจำอารมณ์ต่างๆ ที่เข้ามากระทบ
ด้วยสติพิจารณา ว่าอารมณ์ในขณะนั้น
พอใจ หรือไม่พอใจ

..ยากทุกวัน..
ทำอารมณ์ให้เป็นกุศลตลอดเวลา  
การทำกุศลให้ถึงพร้อมด้วยกายวาจาใจ 
เกิดขึ้นจากการปฏิบัติธรรม 
น้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

ปฏิบัติธรรมทุกๆอริยบท 
เจริญวิปัสสนากรรมฐาน..ทุกลมหายใจ 
เจริญสติปัฏฐานสี่..ดูกายกับใจ
ดูอารมณ์ที่น่าเวทนา..เมื่อไม่พอใจ
ดูอารมณ์ที่น่าศึกษา..เมื่อพอใจ

เมื่ออารมณ์พอใจ..เกิดขึ้น
การให้..การเสียสละ..ก็ไม่ยาก 
แม้มีอารมณ์ไม่พอใจ..เข้ามาแทรก
ก็เปลี่ยนอารมณ์..เป็นความยินดี
ยินดีในโอกาส..ยินดีกับทุกเรื่อง

กรรมที่เคยล่วงเกินพระรัตนตรัย
เกิดความลังเล..สงสัย..ตลอดเวลา
ใจไม่เป็นบุญ..โอกาสดีๆลอยมา
หลุดลอย..น่าเสียดาย

รู้ว่าเป็นผลกรรม..ก็สู้กับอารมณ์ใจ
เอาชนะใจ..ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน
โยนิโส..ความศรัทธาที่มีต่อพระรัตนตรัย
เข้ามาในใจ..ในกาย..ในวาจา

..ละอายเกรงกลัวต่อบาป..
ไม่จาบจ้วง..ไม่ตีเสมอ..หรือล่วงเกิน
ไม่ลบหลู่คุณ..ไม่โอ้อวด 
มีความปรารถนาดี..มีความยินดี

–วันที่ฝนตกหนัก–

พระธุดงค์..เดินตากฝนตั้งแต่เช้ามืด
จุดหมายที่จะพักฉันท์ภัตตาหาร..ไม่แน่นอน 
บางสถานที่..ยินดีต้อนรับ
บางสถานที่..ตกลงแล้ว..แต่เปลี่ยนใจ

พระสงฆ์หมู่ใหญ่จำนวนมาก
เดินเท้าเปล่า..ฉันท์มื้อเดียว..
และอีกหลายข้อในการสมาทานเพื่อจาริกธุดงค์วัตร

ไม่มีเสียงพูดคุย..ไม่มีความกังวล
เดินก้าว..ต่อก้าว..สม่ำเสมอ
ท่านอดทนทุกย่างก้าว..ด้วยความตั้งใจ
เพื่อขัดเกลาความโลภ..โกรธ..หลง..ในกาย..ในใจ..
ที่เรียกว่า–กิเลส–

พระธุดงค์..ทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์
เรียนรู้..ความอดทน..ที่กระทบกาย
กระทบใจ..ท่านสงบ..แม้จะเหนื่อยจะหิว 
บาดแผลมากมาย..ที่เกิดขึ้นจากความอดทน
ท่านเดินพิจารณา..กิเลส..ขัดเกลาใจ

..เกิดดวงตาเห็นธรรม..
ใช้ความอดทนเป็นแบบอย่าง
 และตั้งใจว่า จะใช้ความอดทนต่อสู้กับใจตน
จนกว่าจะชนะใจตนเอง
จนกว่าจะสิ้นสงลัยในกรรม 
จนกว่าจะสิ้นสงสัยในพระรัตนตรัย

ตลอดชีวิตตั้งแต่เข้ามาทำหน้าที่พุทธบริษัทสี่  
เจริญวิปัสสนาทุกเวลา 

น้อมถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา
แด่คุณพระศรีรัตนตรัยตลอดชีวิต

..วิปัสสนากรรมฐาน..
การเพียรใช้สติเข้าไปกำหนด
สิ่งที่เกิดขึ้นทางกายและใจ
เพื่อให้เกิดปัญญาหยั่งรู้อย่างแจ่มแจ้ง
จนสามารถหลุดพ้นจาก วัฏฏะสงสารในใจได้

..รออ่านหน้าต่อไปนะคะ..
ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ