ปัตจัจจัง ธรรมทาน
-: หน้าที่ 8 :-
..ความเห็นผิด..ส่งผล..
ทาน..ที่ให้แล้วมีผลจริง
ยิ่งให้ทาน..แก่ทักขิไณยบุคคลหรือผู้ควรแก่ทักขิณา
บุคคลที่ได้ฝึกอบรมตนในทางความประพฤติ และคุณธรรมต่างๆ อย่างเพียบพร้อม กลายเป็นตัวอย่างแห่งชีวิต
ทีดีงามและมีความสุขยิ่ง มีผลมาก
แต่เราให้ไม่ขาด..เฝ้าถามหา..สิ่งที่ให้ยังอยู่มั้ย?? ได้ใช้หรือเปล่า??
..มีความสงสัยไม่สิ้น..
นั่นหมายความว่า..เรายังยึดมันถือมั่นในสิ่งที่ให้..แล้วก็ไม่รู้ว่า..สิ่งที่ให้..ได้มาจากทรัพย์ที่บริสุทธิ์หรือเปล่า
สิ่งที่ทำแล้ว..มีผลจริง..สงเคราะห์ญาติ สงเคราะห์คนที่ด้อยโอกาส
บางครั้ง..สิ่งของที่เอาไปให้
ไม่มีอะไร..เป็นของเราสักอย่าง
แต่ก็สวมสิทธิ์..เป็นผู้จัดการเสร็จสรรพ
สงเคราะห์ญาติ..ยิ่งเป็นไปได้ยากมาก
อนุเคราะห์..พระภิกษุ..สามเณร..ผู้ประพฤติธรรม..แทนที่จะปลื้มปีติ เพราะได้ต่ออายุพระพุทธศาสนา ให้ท่านมีโอกาสทำหน้าที่ของท่านอย่างแท้จริง
ก็คอยจับผิด..เสียดสี..นินทาพระสงฆ์สามเณร..นั่น..นี่..สารพัดไม่เคารพศรัทธาอย่างแท้จริง
การเซ่นสรวง..หรือ..การบูชา..มีผลจริง
การบูชา..คือ..การนำสิ่งของที่สมควรไปสักการะ..หรือ..มอบให้..ผู้ที่ควรบูชาซึ่งเป็นบุคคลที่ได้ทำคุณงามความดีทั้งแก่ตนและผู้อื่น
การบูชาเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที..ผู้มีพระคุณต่อเรา เป็นการยอมรับนับถือ ยึดไว้เป็นแบบอย่าง
ส่งเสริมให้เกิดกำลังใจในการทำความดีการบูชาบุคคลผู้ควรบูชา ถือเป็นมงคลอันสูงสุดอย่างหนึ่ง
ความอิจฉา..มีมาก..ก็ไม่อยากเห็นความเจริญของใคร..ไม่เปิดโอกาสให้ตนเอง ที่จะนำมาเป็นแบบอย่าง
..ไม่ยินดีในความดีของใคร..
วิบากแห่งกรรมดี..กรรมชั่ว..มีผลจริง
กรรม..แปลว่า..การกระทำโดยเจตนา..คือ..การกระทำทางกาย..วาจา..และใจ ไม่ว่าดี..หรือ..ชั่วที่เกิดจากความตั้งใจของผู้กระทำ ถือว่าเป็นกรรมทั้งสิ้น
มนุษย์ทุกคน..ล้วนปรารถนาความสุข
การที่เราตั้งใจศึกษาวิชาการต่างๆ นั้นเพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความมั่นคงและความสุขให้กับชีวิต
..หากเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมดี..
เราจะได้เลือกทำแต่ความดี..ละเว้นจากความชั่วและบาปอกุศลทุกชนิด
ก็เชื่อว่า”กรรมมีอยู่จริง” แต่ก็ไม่เคยเว้นได้ ด้วยผลแห่งความยึดมั่นถือมั่น..ก้าวไม่พ้น..กิเลสในใจ..ผิดศีล..ผิดธรรม..อารมณ์ในใจจึงเสวยผลแห่งกรรมตลอดเวลา
โลกนี้มีจริง..โลกตามหลักพระพุทธศาสนามีความหมาย กว้างมาก คือ ครอบคลุมไปถึง 3 เรื่อง
ตั้งแต่สัตว์โลก หมายถึง จิตใจของหมู่สัตว์ทั้งหลายขันธ์โลกหรือสังขารโลก
หมายถึง สังขารร่างกาย ขันธ์ 5 ของคนและสัตว์ทุกชนิดที่ประกอบด้วยกายและใจและโอกาสโลก หมายถึง สถานที่สัตวโลกได้อยู่อาศัย และที่ทำมาหากินรวมถึงบรรยากาศรอบตัว
โลกมีความสำคัญเพราะต้อง
อาศัยสร้างกุศลบารมี และโลกใบนี้ก็เป็นโลกแห่งการแสวงบุญ ไม่ใช่โลกแห่งการเสวยบุญ ต้องเร่งรีบสั่งสมบุญกุศลให้มากๆ
ความประมาทในชีวิตของเราแต่ละวัน ไม่เคยสนใจโลกใบนี้อย่างแท้จริง
เราแสวงหาผลประโยชน์หมกหมุ่นติดอยู่ในวังวนแห่งกามคุณและอบายมุข
เสียทรัพย์กับความพอใจจำนวนมาก
โดยไม่เสียดาย เห็นแก่ตัวมากกว่าจะเห็นแก่ส่วนรวม
โลกหน้ามีจริง หมายถึง เชื่อว่าชีวิตหลังความตายมีจริงไม่ได้ขาดสูญ หากจะสูญ
ก็สูญเฉพาะสังขารร่างกายนี้เท่านั้น
ยังไม่หมดกรรมเราจะได้รูปกายใหม่ ที่มีใจดวงเดิมเข้าไปครอง จะไปเป็นอะไรนั้นย่อมขึ้นอยู่กับบุญและบาปที่ได้ทำไว้ ในภพชาตินี้ เพราะกรรมจะเป็นเครื่องแบ่งแยกสัตว์ให้แตกต่างกัน
เรื่องโลกหน้ายิ่งไกลออกไปอีก เกิดมาก็ไม่ได้มีเป้าในการดำเนินชีวิต อยากทำอะไรผิด หรือถูกไม่เคยสนใจมีอารมณ์เป็นใหญ่ขาดสติที่จะทบทวนหรือเปลี่ยนแปลงตนเอง ไม่มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป
มารดามีคุณจริง ถ้าหากเรามีความเห็นที่ถูกต้องว่า มารดามีคุณต่อเราอย่างน้อย 3 ประการ คือ ให้ชีวิตแก่บุตร ให้ต้นแบบร่างกายที่เป็นมนุษย์ซึ่งเหมาะต่อการทำความดี และให้ต้นแบบทางจิตใจแก่บุตร
แต่เราก็เห็นคุณของมารดาน้อยมาก
แทบจะไม่มองด้วยซ้ำ
หากมารดาไม่มีทรัพย์สินเลี้ยงดู..ยิ่งไม่ต้องพูดถึง..เราซึมซับแต่บาปเสียดสี..แม่มีใจลำเอียง..ถกเถียงไม่เกรงกลัว..แม่ก็น้ำตาตก
บิดามีคุณจริง โดยทั่วไปบิดามีพระคุณต่อบุตร 3 ประการ เช่นเดียวกับมารดา
แต่มักมีผู้สงสัยว่า บิดาที่ไม่ได้ให้การเลี้ยงดูบุตร ไม่ได้ทำหน้าที่ของความเป็นพ่อนั้นจะยังมีคุณต่อลูกหรือไม่
ขอตอบแทนพ่อทุกคนว่า ท่านมีคุณต่อเรามาก เพราะเราต้องเกิดแบบชลาพุชะ คือเกิดในครรภ์ จำเป็นจะต้องอาศัยพ่อและแม่เป็นผู้ให้กำเนิด
เริ่มที่พ่อเสพที่แม่ แล้วกลายมาเป็นเรา จะขาดบิดาไม่ได้
ดังนั้นถ้าไม่มีพ่อ เราก็ไม่อาจเกิดมา เพื่อสร้างบารมี นับว่ามีบุญคุณอย่างเหลือล้น
ความเห็นผิดจากความเป็นจริง ทำให้เรามีจิตใจหยาบช้า เสียดสีนินทาว่าร้าย
ไม่มีความเคารพด้วยคำที่รุนแรง
ไม่น่าทำให้เกิดมาเลย ไม่น่าเป็นพ่อจริงๆ
ปฏิเสธการให้ชีวิต
สัตว์ที่ผุดเกิดขึ้นมีจริง คือเกิดแบบไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา ข้อนี้เป็นศาสตร์แห่งใจหยุดนิ่งอย่างเดียวเท่านั้น
ผลของกรรมดี..ตายแล้วผุดเป็นเทวดามีรัศมีเรืองรองมีอาภรณ์ประดับกาย
ใช้กรรมดีหมด ก็มาเกิดใหม่
ผลของกรรมชั่ว..ตายแล้วเสวยผลกรรม กายผุดเป็นเปรตร่างกายล่อนจ้อนหิวโหย ใช้กรรมชั่วหมด ก็มาเกิดให้
พระอรหันต์ ผู้สามารถรู้แจ้งโลกนี้โลกหน้ามีอยู่จริง ความเห็นที่ถูกต้องนี้จะนำไปสู่ความศรัทธาเลื่อมใสและอยากทำบุญกับผู้หมดกิเลส
หรืออย่างน้อยให้ได้ทำบุญกับพระสงฆ์ ที่ท่านกำลังฝึกหัดขัดเกลาตนให้หลุดพ้นจากกิเลส เราย่อมจะได้บุญใหญ่ ละโลกแล้ว ย่อมจะมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป
แต่ก็สงสัยพระสงฆ์ตลอดเวลา ทำไมไม่เป็นพระในแบบที่เราคิด
เพียรเพื่อละอกุศลกรรมในใจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ความเห็นผิดเป็นกรรมให้เกิด
อุปาทาน : ความถือมั่น ความยึดติด
ถือค้าง ถือคาไว้ ไม่ปล่อย ไม่วาง ตามควรแก่เหตุผล เนื่องจากติดใคร่ ชอบใจ ปรารถนาอย่างแรง เชื่อในสิ่งที่ตนเห็น
ตามเชื้อแห่งกรรม
ถึงแม้จะได้คุณวิเศษ ก็ต้องชดใช้กรรม
เมื่อเจริญวิปัสสนา จึงต้องต่อสู้กับอารมณ์ในใจที่กรรมปรุงแต่งให้ไหลลงในหลุมดำ ลบหลู่ ตีเสมอ ก่อเวร
ยิ่งนั่ง..ก็ยิ่งโกรธ
มีความโกรธทวีคูณ มีความอยากได้อยากมี อยากเป็น
บางครั้งก็หลงว่า แนวทางของตนเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
ขาดการพิจารณอย่างแยบคาย
ท่านเชื่อมั้ยเรามีความเห็นผิดแบบนี้จริงๆ
อารมณ์ในใจ ไม่ได้เป็นกุศลตลอดเวลาด้วยผลแห่งกรรมจากความเห็นผิด
รู้สึกเหนื่อยและเบื่อหน่ายอารมณ์ในใจที่มีแต่บาปอกุศล
นั่งฟุ้งซ่าน รำคาญใจ คิดแต่เรื่องลามกเห็นแต่ภาพกรรมนั่นนี่ ปรุงแต่ง ไม่หยุด
เดี๋ยวปวดขาจะหลุด เดี๋ยวได้กลิ่นเหม็นเน่าโชยมา เดี๋ยวได้ยินเสียงก้องเข้ามาในใจ หาอารมณ์สงบไม่เจอ นั่งแล้วคัน
เหมือนมดเป็นรังๆเดินอยู่เต็มร่างกาย
ลืมตาเพื่อปัดออก ก็ไม่มีสักตัวเดียว
หลับตา..หาเหตุผล..ก็รู้ว่ากำลังชดใช้กรรมที่มีความเห็นผิดต่างๆ
เจริญวิปัสสนา..เพื่อชดใช้กรรม
จะมีอารมณ์ในใจ..เวทนาอย่างนี้
กายกระทบเวทนาอย่างนี้
เบียดเบียนอะไร..ไว้แม้แต่ชีวิตเดียว..ก็ต้องชดใช้..
..สิ้นสงสัยในพระรัตนตรัย..
..สิ้นสงสัยในกรรมดี..กรรมชั่ว..
..มีศรัทธาตั้งมั่น..ไม่หวั่นไหว..
..รู้สึกสว่างกระจ่างใจมล..
..น้อมกราบ..ระลึกถึงพระรัตนตรัย..ว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต..
หาทางทุบกำแพงอุปาทาน..ที่ผุดขึ้นในใจทุกขณะจิต
มองไปสุดขอบฟ้า..เห็นนกบินกลับรัง
ได้ธรรมะสอนใจตนทันที
หากเราแสวงหาความหลุดพ้น
เราต้องปล่อยวางตัณหาอุปาทาน
ลดอัตตาตัวตน
ให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน
ใจเราจะเป็นอิสระอย่างแท้จริง
..รู้ใจผู้อื่น..ก็ไม่เท่า..รู้ใจตนเอง..
..สาธุ..ปัตจัตตัง..ธรรมทาน..
..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..