ข้าพเจ้ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

ข้าพเจ้ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี

ขออำนาจอันบริสุทธ์ของจิต
ที่ข้าพเจ้ามีโอกาสอุปฐากปัจจัยสี่แก่
พระสงฆ์หมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่ที่เจริญวิปัสสนากัมมัฎฐาน
จาริกธุดงค์วัตรศึกษาพระปริยัติธรรม

บุญที่ข้าพเจ้ารักษาศีลให้ทานเจริญภาวนา
มีโอกาสสร้างวิหารลานเจดีย์ สร้างโบสถ์
สร้างศาลา สร้างสถานปฎิบัติธรรม
ดูแลอุปถัมภ์ผู้ปฎิบัติธรรม

และให้ธรรมเป็นทานตลอดมา

กุศลจิตอันบริสุทธิ์ดีแล้วของข้าพเจ้า
เป็นไปเพื่อความสละ ละวาง อัตตาตัวตน

น้อมถวายเป็นพุทธบูชาแด่คุณพระศรีรัตนตรัย มีคุณของพระพุทธ คุณของพระธรรม คุณของพระสงฆ์ และคุณบิดามารดาครูอาจารย์

ธรรมวิเศษใดยังผลให้พระสงฆ์ในทิศทั้งสี่
มีดวงตาเห็นธรรม

อ่านต่อ

กฎแห่งกรรมยุติธรรมเสมอ ทำแบบไหนได้รับแบบนั้น

ในสมัยพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ประทับ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตเมืองสาวัตถี

ภิกษุทั้งหลายที่เที่ยวเผยแพร่ศาสนาไปทั่วทิศานุทิศ เมื่อออกพรรษาต่างก็เดินทางมาเพื่อเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เมื่อมีเรืองอันใดที่สงสัยก็นำมาทูลถามกันตามแต่เหตุการณ์ ได้ถือปฎิบัติเช่นนี้ตลอดมา

มีภิกษุพวกหนึ่ง เข้าไปบิณฑบาตในหมู่บ้านรับนิมนต์ฉันในบ้านของคหบดีผู้หนึ่ง ขณะกำลังฉันข้าวยาคูเพื่อรอเวลาบิณฑบาต 

เผอิญเห็นบ้านหลังหนึ่งในที่ไม่ไกล ถูกไฟไหม้ สาเหตุเกิดจากหญิงรับใช้ของบ้านนั้น จุดไฟหุงข้าวแล้วนั่งหลับไฟลามลุกเชื้อเพลิงติดหลังคา แล้วไหม้อย่างรวดเร็ว

ขณะไฟไหม้ในบ้านนั้นเปลวไฟโหมหนัก
ส่งเสวียนหม้อซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลมไฟติดไหม้โดยรอบพุ่งขึ้นสู่อากาศ

อ่านต่อ

ธัมมิกอุบาสก

ธัมมิกอุบาสก

ธัมมิกอุบาสก เป็นชาวเมืองสาวัตถี เอาใจใส่ในการทำบุญมาก ถวายภัตต์แก่ภิกษุสงฆ์แทบทุกชนิด เป็นต้นว่า

สลากภัตต์ ออกสลากให้ภิกษุจับ ภิกษุรูปใด ถูกของผู้ใด ผู้นั้นก็ถวายแก่ภิกษุนั้น

ปักขิกภัตต์ อาหารที่ถวายทุก ๑๕ วัน

สังฆภัตต์ อาหารถวายอุทิศพระอริยสงฆ์

อุโปสถิกภัตต์ อาหารถวายในวันอุโบสถ

อาคันตุกภัตต์ อาหารถวายแก่ภิกษุผู้จรมา

วัสสาวาสิกภัตต์ อาหารถวายแก่ภิกษุรู้อยู่จำพรรษา

ธัมมิกอุบาสกนั้น พร้อมทั้งบุตรและภรรยา ได้เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม มีความยินดีในการจำแนกทาน ด้วยประการฉะนี้

อ่านต่อ

เคยคิดว่า..ชีวิตนี้ไม่มีใครเลยที่อยู่เคียงข้างเรา

..เคยคิดว่า..ชีวิตนี้ไม่มีใครเลยที่อยู่เคียงข้างเรา..ทุกคนผ่านเข้ามา..แล้วก็จากไป..

..แต่ละคนทิ้งความเกี้ยวกราด..ทิ้งความเย้ยหยัน..โยนเรื่องราวที่น่าตกใจ..หวงแหนทุกอย่าง…แย่งชิงทุกสิ่ง…

..ในทางกลับกัน..ทุกคน..คือ..ครูชีวิต..

..ที่สอนให้เราอดทน..อดกลั้น..

..สอนให้รู้จัก..สิ่งไม่น่าปรารถนา..และสอนให้รู้จักคำว่าปล่อยวาง..

..ขอบคุณทุกคนที่สอนให้รู้ว่า..

..เราไม่สามารถเปลี่ยนใครได้..นอกจากต้องเปลี่ยน..ตัวเราเอง..

..ความทรงจำ…อ่านออกเขียนได้..ต้องกราบคุณครูทุกท่านด้วยดวงใจ..

..และขอบคุณชีวิต..ที่มีโอกาสได้เรียนรู้โจทย์..ที่ไม่มีคำตอบในวันนี้..

..แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..

มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร

มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร

มัฏฐกุณฑลี เป็นเด็กหนุ่มชาวเมืองสาวัตถี เกิดในตระกูลพราหมณ์ พ่อแม่เป็นคนมั่งคั่งมาก แต่ตระหนี่เหนียวแน่น จนคนทั้งหลายให้สมัญญาว่า

อทินนปุพพกะ แปลว่า “ไม่เคยให้อะไรแก่ใคร”

ถึงกระนั้นก็ยังมีแก่ใจเอาทองตีแผ่ทำเป็นตุ้มหูเกลี้ยงๆ ให้ลูกชาย 1 คู่ คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อเด็กคนนี้ว่า

มัฏฐกุณฑลี แปลว่า “มีตุ้มหูเกลี้ยง”

ตุ้มหูนั้นพ่อเป็นคนทำให้เอง ไม่ได้จ้างช่างทอง เพราะเกรงจะเสียค่าจ้าง

เมื่ออายุ 16 ปี มัฏฐกุณฑลีป่วยหนัก บาลีว่าเป็นโรคผอมเหลือง คือวัณโรคนั่นเอง มารดามองดูบุตรแล้วเกิดความสงสาร จึงขอร้องให้สามีไปหาหมอ

แต่ฝ่ายพราหมณ์ผู้เป็นสามีกลัวเสียเงินจึงไม่ยอมหาหมอมารักษาลูก เขาเพียงแต่ไปถามหมอว่า คนป่วยอย่างนั้นๆ ท่านให้ยาอย่างไร

หมอก็บอกว่าให้ยาที่ประกอบด้วยสิ่งนั้นๆ พราหมณ์จึงไปหารากไม้ใบไม้ตามที่หมอบอกมาต้มให้ลูกกิน

อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่16มกราคม 2563 วันครู…สัตถาเทวมนุสสานัง…ผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวดา

วันพฤหัสบดีที่16มกราคม 2563 วันครู

…สัตถาเทวมนุสสานัง…ผู้เป็นครูของมนุษย์และเทวดา

คำสอนของพระศาสดา

อะไร คมที่สุด
พราหมณ์ตอบว่า มีดที่ลับหินดีแล้ว คมที่สุด

พระพุทธเจ้าตอบว่า. วาจาที่ใส่ร้ายผู้อื่น ทำร้ายหัวใจผู้อื่น คมที่สุด

อะไร ไกลที่สุด
พราหมณ์ตอบว่า ดวงอาทิตย์ สุดขอบจักรวาล ไกลสุด

พระพุทธเจ้าตอบว่า. อดีดที่ผ่านมาตั้งหลายกัปหลายกัลป์ ยาวที่สุด

อะไร ใหญ่ที่สุด
พราหมณ์ตอบว่า. ภูเขา โลก มหาสมุทร ใหญ่ที่สุด

พระพุทธเจ้าตอบว่า. ตัณหาความทยานอยาก ไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้ก่อภพก่อชาติ ใหญ่ที่สุด

อ่านต่อ

พระสารีบุตร..นักโต้วาที

พระสารีบุตร..นักโต้วาที

   พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ  พระเชตวันมหาวิหาร  ทรงปรารภ การบรรพชาของปริพาชิกา  ๔  คน  จึงตรัสพระธรรมเทศนา ดังนี้.

นิครนถ์ คือนักบวชเปลือย ๒ คน เป็นหญิง ๑ ชาย ๑ มีวาทะเฉียบแหลมคมกล้า เดินทางมาถึงเมืองเวสาลี

ซึ่งพวกกษัตริย์ลิจฉวีปกครองโดยสามัคคีธรรม เมื่อได้ขอร้องให้นิครนถ์ทั้งสองโต้วาทะกันแล้ว

กษัตริย์ลิจฉวีเห็นอัศจรรย์ ในปัญญาของคนทั้งสองนั้นจึงคิดว่า ถ้าคนทั้งสองแต่งงานกัน มีลูก ลูกที่เกิดจากคนทั้งสองคงฉลาดมาก จึงจัดให้คนทั้งสองแต่งงานกัน

อ่านต่อ

เรื่องนางจูฬสุภัททาตอนที่๒

เรื่องนางจูฬสุภัททาตอนที่๒

ภรรยาเศรษฐีจึงพูดว่า

“ถ้าเช่นนั้นเธอก็จงเชิญสมณะของเธอมาให้แม่ดูเถอะ เจ้าจงจัดแจงการต้อนรับตามที่เจ้าพอใจ”

   นางจูฬสุภัททาตอบว่า “ดีละ” ก็ไปจัด

เตรียมมหาทานเพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วยืนอยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนผินหน้าไปทางพระเชตวันมหาวิหาร กราบไหว้โดยเคารพด้วยเบญจางคประดิษฐ์

ระลึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลายของพระพุทธองค์ ทำการบูชาด้วยของหอม เครื่องอบ ดอกไม้และธูปเทียนกล่าวอัญเชิญนิมนต์ว่า

อ่านต่อ

เรื่องของนางจูฬสุภัททา ตอนที่๑

เรื่องของนางจูฬสุภัททา ตอนที่๑
      
  นางจูฬสุภัททา เป็นลูกสาวคนที่ ๒ ของอนาถบิณฑิกะเศรษฐี   เมื่อนางมหาสุภัททาแต่งงานมีสามีออกเรือนไปอยู่กับสามีแล้ว ท่านเศรษฐีจึงมอบภาระหน้าที่ในการดูแลธุรกิจการค้าทั้งหมดให้แก่นางจุฬสุภัททาเป็นคนดูแลต่อไป  

นางจูฬสุภัททามีนิสัยเป็นคนเด็ดขาดเข้มแข็งทำอะไรกล้าตัดสินใจไม่ต้องถามเศรษฐี เมื่อเห็นว่าการตัดสินใจทำนั้นจะไม่เกิดผลเสียแก่ธุรกิจการค้าของบิดา  

ในตอนที่นางจูฬสุภัททามารับหน้าที่แทนพี่สาวนี้  ท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐีมีเวลาว่างมากท่านจึงมีเวลาไปวัดทั้งเช้าและเย็น  ปกติแล้วท่านจะไปวัดก่อนใครๆทั้งหมด  

วันหนึ่งท่านเศรษฐีกำลังนั่งสนทนากับกับพระพุทธเจ้าอยู่คนใช้ที่บ้านมาบอกท่านว่ามีคนมาส่งข่าวว่า “อุคคะเศรษฐีจะมาเยี่ยม”

   เมื่อท่านเศรษฐีกลับมาถึงบ้านแล้วจึงให้เรียกนางจูฬสุภัททามาแล้วสั่งว่า

อ่านต่อ

บุญกุศลใดที่เกิดขึ้นกับพระสงฆ์หมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่

..บุญกุศลใดที่เกิดขึ้นกับพระสงฆ์หมู่ใหญ่ในทิศทั้งสี่..ทุกอริยบถที่ท่านย่างทุกก้าวเดิน ยืน นั่ง นอน..

..ตลอดจนพระธรรมใดอันเป็นเครื่องชำระใจให้เบิกบาน..

..ข้าพเจ้าขอกราบมหาอนุโมทนา กราบมหาอนุโมทนา..

..ขอให้ข้าพเจ้ามีส่วนในกุศลผลบุญของท่านทั้งหลายด้วยเถิด..

..ข้าพเจ้ามีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต..

..ขอให้ข้าพเจ้ามีความละอายเกรงกลัวต่อบาปมีสติตลอดเวลา..ด้วยการมหาอนุโมทนาในครั้งนี้เทอญ..

..ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..

ความประมาท

ความประมาท

ณ ธรรมสภา วัดเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี ภิกษุทั้งหลายสนทนากันถึงเรื่องนี้ว่า พระสารีบุตรเป็นที่พึ่งของปริพพาชิกาทั้ง ๔ คน

พระศาสดาเสด็จมาทรงทราบเรื่องตรัสว่า เมื่อก่อนสารีบุตรก็เคยเป็นที่พึ่งของนางทั้ง ๔ นี้แล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องในอดีตมาดังนี้

ในอดีตกาล พระเจ้ากาลิงคะ ครองราชย์สมบัติในนครทันตปุระ แคว้นกาลิงคะทรงสมบูรณ์ด้วยรี้พลพาหนะ มีกำลังกองทัพเข้มแข็งเกรียงไกร 

พระองค์เองก็มีกำลังปานคชสาร ทรงกระหายสงครามอยู่เสมอ เพราะทรงทะนงตนในกำลังของพระองค์ แต่ไม่มีใครต้องการเข้ายุทธสงครามด้วย

วันหนึ่ง พระเจ้ากาลิงคะ ประทับท่ามกลางอำมาตย์ราชมนตรี ตรัสปรึกษาว่า ทำอย่างไรจึงจะได้เข้าสงครามกับพระราชาองค์ใดองค์หนึ่ง

อำมาตย์ราชมนตรีปรึกษากันมากแล้วกราบทูลว่า มีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง คือ พระราชธิดาของพระองค์ซึ่งทรงสิริโฉมงดงาม จะสามารถทำให้พระองค์บรรลุถึงเป้าหมายได้

อ่านต่อ

ธรรมธัชบัณฑิต ตอนที่ 3..(ตอนจบ)

..ธรรมธัชบัณฑิต ตอนที่ 3..(ตอนจบ)

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนฉัตตปาณี ท่านเป็นผู้ไม่ริษยาหรือ

กราบทูลว่า ขอเดชะ ถูกแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา

ท่านเห็นเหตุอะไรจึงเป็นผู้ไม่ริษยา

ฉัตตปาณีกราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงโปรดสดับเถิด เมื่อจะกล่าวถึงเหตุของการไม่ริษยา จึงกล่าวคาถานี้ว่า :

    ข้าแต่ราชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งให้จองจำปุโรหิต เพราะหญิงเป็นเหตุ

ปุโรหิตนั้นให้ข้าพระองค์ตั้งอยู่ในประโยชน์แล้วเพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ริษยา
อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า (รายละเอียดปรากฏในพันธนโมกขชาดก)

อ่านต่อ