ในครั้งพระพุทธเจ้า มีพระนามว่าพระปทุมุต‌ตระ…

ในครั้งพระพุทธเจ้า
มีพระนามว่าพระปทุมุต‌ตระ

มหาเศรษฐีชื่อว่าเวเทหะ
มีทรัพย์สมบัติ 80 โกฏิ
:โกฏิละ60ล้าน:

ในวันที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นสถาปนา‌สาวกองค์ที่ 3 นามว่า
–มหานิสภเถระ–

ใน‌ตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นยอดของภิกษุผู้สอน‌ธุดงค์นั้น 

ท่านเวเทหะเศรษฐีได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระปทุมุต‌ตระอยู่ด้วย เมื่อได้ยินเรื่องราวดังกล่าวก็เกิด‌ความเลื่อมใสเกิดขึ้นเป็นกำลัง 

จึงได้ขออาราธนา ‌
ภิกษุสงฆ์ที่มีอยู่ทั้งหมดให้มาฉันภัตตาหารที่จะ‌ถวายในวันรุ่งขึ้น

พระพุทธองค์ตรัสว่า 
ภิกษุมีมากถึง6,800,000องค์
หกล้าน‌แปดแสนองค์ 
แต่เวเทหะเศรษฐีก็ยืนยัน
พระศาสดาจึงรับนิมนต์
วันรุ่งขึ้น เวเทหะเศรษฐีได้ถวายทานสม‌ใจอยาก 
เพราะไม่มีภิกษุใดเหลืออยู่ในอารามเลย ‌

เว้นแต่มหานิสภเถระที่ยังออกบิณฑบาตอยู่ ‌
เมื่อเวเทหะเศรษฐีนิมนต์ให้เข้ามาฉันที่บ้าน ‌
ท่านก็ปฏิเสธว่าไม่ควร

เวเทหะเศรษฐีจึงข้องใจนักว่า 
พระภิกษุรูปนี้มีคุณวิเศษอย่างไรหนอ 
จึงได้ทูลถาม‌พระพุทธองค์ 
พระพุทธองค์ทรงตรัสอธิบายว่า

 ‌“ดูก่อนอุบาสก เรานั่งคอยภัตตาหารอยู่ในเรือน ‌
แต่พระมหานิสภเถระนั้นไม่นั่งคอยภิกษาใน‌เรือนอย่างนี้
 เราอยู่ในเมือง พระมหานิสภเถระ‌นั้นอยู่ในป่าเท่านั้น 
เราอยู่ในที่มุมบัง พระมหา‌นิสภเถระนั้นอยู่กลางแจ้งเท่านั้น 
ดังนั้น ‌พระมหานิสภเถระนั้นมีคุณอย่างนี้”

เมื่อเวเทหะเศรษฐีได้ฟังเช่นนั้นยิ่งเกิดศรัทธาปสาทะ 
และปักใจแน่วแน่ว่า อยากจะ‌เป็นเอตทัคคะในด้านธุดงค์
ของพระพุทธเจ้า‌พระองค์ใดพระองค์หนึ่งในกาลข้างหน้า 

ท่าน‌จึงทูลถามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ว่า หากถวายมหาทานตลอด 7 วัน 
จะสมปรารถนาหรือไม่ ‌

พระพุทธองค์ทรงพิจารณาแล้วทรงมีพุทธ‌พยากรณ์ว่า

 “ท่านจะสมปรารถนาอีกแสนกัป‌นับจากนี้ ท่านจะเป็นพระสาวกที่ 3 ของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามหากัสสปะเถระ”
………………………………………………………..
ธุตังคะ
“ปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษ
เพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง”อย่างเคร่งครัด

ธุดงควัตรมี 13 ข้อ คือ

1ถือผ้าบังสุกุลใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเป็น‌วัตร

2.ใช้ผ้า 3 ผืน คือ ไตรจีวรเป็นวัตร

3.บิณฑบาต บริโภคอาหารเฉพาะที่ได้
มา‌จากการรับบิณฑบาตเท่านั้นเป็นวัตร

4.บิณฑบาตตามลำดับเป็นวัตร

5.ฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร นั่งฉัน
เพียง‌ครั้งเดียว บริโภคอาหารเพียงวันละครั้งเดียว

6.ฉันในบาตร นำอาหารทุกชนิดมารวมกัน‌ในบาตรเป็นวัตร

7.ห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร 
คือ รับ‌บาตรมาแล้ว ไม่รับอะไรอีกแล้ว 
แม้หลังจากนั้น‌จะมีผู้ถวายอะไรอีก 
ก็จะไม่รับแล้วแม้จะถูกใจก็ตาม

8.อยู่ป่าเป็นวัตร

9.อยู่โคนไม้เป็นวัตร

10.อยู่กลางแจ้ง ไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย ‌เป็นวัตร

11.อยู่ในป่าช้าเป็นวัตร

12.ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็น‌วัตร 
ใครขอให้สละที่พักนั้น ก็พร้อมสละได้ทันที

13.ถือการนั่งเป็นวัตร 
จะอยู่ใน 3 อิริยาบถ ‌คือ ยืน เดิน นั่ง 
ไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย
……..
น้อมกราบองค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส

ข้าพเจ้ามีโอกาสถวายบิณฑบาตรด้วยทรัพย์
ของผู้มีศรัทธาจากทิศทั้งสี่ ขอบุญทั้งหมดทั้งมวล
จงเกื้อกูลให้ผู้ร่วมบุญทั้งหลาย
จงเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิพาน ธนสารสมบัติ
มีความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม
สมความปรารถนาทุกประการ

ขอให้ข้าพเจ้ามีส่วนในบุญของท่านเวเทหะเศรษฐีด้วยเถิด

ดร.แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ