๕. ชิณณสูตร
ว่าด้วยความแก่
[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน ฯลฯ
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระมหากัสสปะดังนี้ว่า
“กัสสปะ บัดนี้เธอแก่แล้ว ผ้าป่านบังสุกุลเหล่านี้ของเธอหนัก ไม่น่านุ่งห่มเพราะฉะนั้น เธอจงใช้สอยคหบดีจีวร(๑-) จงบริโภคโภชนะที่เขานิมนต์ และจงอยู่ในสำนักของเราเถิด”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเวลานานมาแล้ว ข้าพระองค์เป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน”
“เธอพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์อะไรจึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการทรงไตรจีวรเป็นวัตร เป็นผู้มักน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย เป็นผู้สันโดษ และกล่าว
เชิงอรรถ
๑ คหบดีจีวร ในที่นี้หมายถึงผ้าจีวรที่พวกคหบดีถวายแก่ภิกษุเพื่อใช้เป็นผ้าบังสุกุลสำหรับนุ่งห่ม (สํ.นิ.อ.
๒/๑๔๘/๑๙๑)
สรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ สงัดจากหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดจากหมู่ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน
“ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตรและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร …เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร … เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร … เป็นผู้มักน้อย …เป็นผู้สันโดษ … เป็นผู้สงัดจากหมู่ … ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ … เป็นผู้ปรารภความเพียรและกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร ตลอดกาลนาน
คือ พิจารณาเห็นการอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน(๑-) และอนุเคราะห์หมู่ชนในภายหลังว่า ทำอย่างไรหมู่ชนในภายหลังพึงถึงการประพฤติตามแบบอย่างว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าและพระพุทธสาวกที่ได้มีมาแล้ว ท่านเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร ตลอดกาลนาน ฯลฯ เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร … เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร … เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร … เป็นผู้มักน้อย … เป็นผู้สันโดษ … เป็นผู้สงัดจากหมู่ … ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ … เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียร อย่างนี้
ท่านเหล่านั้นจักปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อปฏิบัติของท่านเหล่านั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขตลอดกาลนาน
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์พิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้จึงเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการอยู่ป่าเป็นวัตร … เป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร … เป็นผู้นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร … เป็นผู้ทรงไตรจีวรเป็นวัตร …
เชิงอรรถ
๑ การอยู่เป็นสุขในปัจจุบันของตน ในที่นี้หมายถึงการอยู่ป่าเป็นวัตรอันเป็นสถานที่สัปปายะแก่การ
ประพฤติธรรม เพราะไม่มีเสียงรบกวนเหมือนอยู่ในบ้าน (สํ.นิ.อ. ๒/๑๔๘/๑๙๒)
เป็นผู้มักน้อย … เป็นผู้สันโดษ … เป็นผู้สงัดจากหมู่ … ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ … เป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรตลอดกาลนาน”
“ดีละ ดีละ กัสสปะ ได้ยินว่า เธอปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เธอจงนุ่งห่มผ้าป่านบังสุกุลที่ใช้แล้ว(๑-) จงเที่ยวบิณฑบาต และจงอยู่ในป่าเถิด”
พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย ๑) เล่มที่ ๑๖ ข้อ ๑๔๘ หน้า ๒๔๑
—————
แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ