—ไตรลักษณ์—
อ่านหนังสือวันละหน้า หน้าที่ 42
..ด้วยเราไม่เคยพิจารณา..ในกฎธรรมชาติตามความเป็นจริง..จึงทำให้เราฝืนธรรมชาติ..ยึดมั่นไม่ปล่อยวาง..และเกิดเป็นอัตตา..
ทนต่อความเป็นจริงไม่ได้..ไม่ยอมรับ..
ไม่อดทน..ความเพียรอ่อนกำลัง
เมื่อเข้ามาปฎิบัติธรรม..ไม่เกิดปัญญา..
มีความเบื่อหน่ายว่าไม่ได้อะไร..ไม่เห็นได้อะไร..
เพราะอัตตาเข้ายึดครอบครอง..ทุกส่วนของจิต..จึงทำให้ไม่รอบรู้..ในสิ่งที่เข้ามากระทบ..มีความดิ้นรนฟุ้งซ่านไม่พิจารณา..ว่านี่คือ..ไตรลักษณ์..
ไม่เคยเห็นไตรลักษณ์เลย..ตั้งแต่เกิดมา..จิตไม่รู้ตามความเป็นจริง..ความไม่รู้จึงมีส่วนอยู่ในชีวิตประจำวันเป็นอัตตายึดมั่น..มีมานะถือตัวถือตน
..ทำไมต้องเรียนรู้ไตรลักษณ์..
..ไตรลักษณ์..คือ..ความจริงของชีวิต..แต่เราเฝ้ามองออกไปข้างนอกไกลแสนไกล..ว่าพระจันทร์อากาศเย็นแค่ไหน..สวรรค์มีนางฟ้าเทวดาเท่าไหร่
การปฎิบัติเริ่มต้นที่ลมหายใจ..ไหลเข้าไปในปอด..สั้นก็รู้ว่าสั้น..ยาวก็รู้ว่ายาว..จิตเห็นท้องที่พองและยุบ..เฝ้าดูลมหายใจที่เข้าออกสม่ำเสมอ..
สักแต่ว่าสิ่งใดมากระทบ..เพราะยึดถือไม่ได้เป็นไปตามกลไกของร่างกาย..จิตกระทบกับความเจ็บปวด..ทางร่างกายก็รู้ว่าปวด..อดทนจนปวดหายไป..ไม่ว่าเวทนาจะเกิดขึ้นที่ใด..เข้าไปกำหนดรู้
กายเท่านั้น..ที่เกิดเวทนา..จิตมีหน้าที่รับรู้..แยกให้ออกระหว่างกายกับจิต
สิ้นสงสัยในการปฎิบัติ..กำหนดดูตั้งแต่หยาบจนละเอียด..เห็นว่าร่างกายนี้ไม่เที่ยง..บังคับบัญชาไม่ได้..จิตจะค่อยๆถอนอัตตาความยึดมั่นถือมั่นทีละน้อยๆ
ปฎิบัติธรรมโดยไม่พิจารณาหลักไตรลักษณ์เราก็ยิ่งมีความโกรธ..โลภ..หลง..มากกว่าคนปกติ..
เพราะความไม่รู้..ทำให้ไม่เห็นความเป็นจริง..ของร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่เรียกว่า ..”ไตรลักษณ์”..
..ทุกขัง..อนิจจัง..อนัตตา..
..แม่ชีทศพร วชิระบำเพ็ญ..